วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กรณีศึกษากระบวนการถ่ายทอดความรู้หัตถกรรมเครื่องจักสานชุมชนบางเจ้าฉ่า อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง

   
ภูมิปัญญาท้องถิ่น : กรณีศึกษากระบวนการถ่ายทอดความรู้หัตถกรรมเครื่องจักสานชุมชนบางเจ้าฉ่า อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง 
ความเป็นมาของปัญหา    
       หัตถกรรมเครื่องจักสานเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนบางเจ้าฉ่าที่สำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตตั้งแต่อดีตตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน   หัตถกรรมเครื่องจักสานเป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นภูมิปัญญาอันเฉลียวฉลาดของคนในท้องถิ่น  ที่ใช้ภูมิปัญญาสามารถนำสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนมาประยุกต์ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน  ซึ่งมีประโยชน์ในการดำรงชีวิต  
                 จะเห็นได้ว่าหัตถกรรมเครื่องจักสานมีมานานแล้วและได้มีการพัฒนามาตลอดเวลาโดยอาศัยการถ่ายทอดความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง  การดำรงชีวิตประจำวันของชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้เอาการรู้หนังสือมาเกี่ยวข้อง  การเรียนรู้ต่างๆ  อาศัยวิธีการฝึกหัดและบอกเล่าซึ่งไม่เป็นระบบในการบันทึก (ชูเกียรติ์  ลีสุวรรณ, 2535)  สะท้อนให้เห็นการเรียนรู้ ความรู้ที่สะสมที่สืบทอดกันมาจากอดีตมาถึงปัจจุบันหรือที่เรียกกันว่าภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังนั้นกระบวนถ่ายทอดความรู้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทำภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นคงอยู่ต่อเนื่องและยั่งยืน
               จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น  ผู้วิจัยจึงสนใจทำการศึกษากระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาหัตถกรรมเครื่องจักสานชุมชนบางเจ้าฉ่า  ซึ่งมีความสำคัญยิ่งที่จะให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมเครื่องจักสานชุมชนบางเจ้าฉ่านั้นๆคงอยู่ตลอดไป  ซึ่งผลจากการศึกษากระบวนถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมเครื่องจักสานชุมชนบางเจ้าฉ่านั้น  จะนำไปเป็นข้อมูลที่จะนำไปไปพัฒนากระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาในชุมชนบางเจ้าฉ่ามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และดำรงอยู่คู่สังคมสืบต่อไป
ขอบเขตการวิจัย
      พื้นที่ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ผู้วิจัยได้กำหนดพื้นที่ที่ใช้ในการวิจัย  คือ  กลุ่มหัตถกรรมเครื่องจักสาน  ชุมชนบางเจ้าฉ่า อำเภอโพธิ์ทอง  จังหวัดอ่างทอง
         
    จุดมุ่งหมาย  เพื่อการศึกษากระบวนการถ่ายทอดความรู้หัตถกรรมเครื่องจักสานชุมชนบางเจ้าฉ่า  ตำบลบางเจ้าฉ่า  อำเภอโพธิ์ทอง  จังหวัดอ่างทอง  ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพหัตถกรรมจักสานจำนวน 7 คน เป็นนำชุมชน 2 คน ผู้เชี่ยวชาญการจักสาน  5 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive  sampling)     เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง (structured  interview) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content  analysis)  การตีความข้อมูล (interpretation) แล้วหาข้อสรุป และนำเสนอด้วยการบรรยายตามประเด็นที่ศึกษา
 ขั้นตอนการจักสาน

วิธีการจักตอก
1.  การจักตอกปื้น แบ่งไม้ไผ่ออกเป็นชิ้นๆตามขนาดที่ต้องการ ใช้มีดจักตอกเอาส่วนในออก (ขี้ตอก)จักในส่วนที่เหลือออกเป็นเส้นบางๆ แล้วหลาวให้เรียบร้อยตากแดดให้แห้ง
2.  การจักตอกตะแคง ใช้วิธีเดียวกันกับการจักตอกปื้นเบื้องต้น แต่การจักให้เป็นเส้นตอกจะทำการจักทางผิวเป็นเส้นเล็กกว่าตอกปื้น ทำการหลาวให้เรียบร้อย แล้วนำออกตากแดด
3.  การจักไพล ใช้วิธีการจักตอกเดียวกับตะแคง แต่การหลาวจะหลาวให้เป็นเส้นกลมแบบเท่ากัน ทำการหลาวให้เรียบร้อย แล้วนำออกตากแดด


การสาน
การสาน เป็นขั้นตอนที่ยาก และต้องใช้ความละเอียดมากที่สุด เริ่มจากการก่อฐานด้านล่างด้วยเส้นตอกสองชนิด คือ ตอกยืน (ตอก-ตั้ง) ซึ่งจะมีลักษณะคอดตรงกลางต่างจากตอกทั่ว ๆ ไป และตอกนอน (ตอกสาน) ที่มีขนาดกว้างเท่ากันเท่ากันทั้งเส้นตากปกติ เหตุที่ตอกยืนมีลักษณะพิเศษ เนื่องมาจากเมื่อสานเสร็จจะได้ตะกร้าที่มีฐานเล็ก และค่อย ๆ บานขึ้นบริเวณปาก


 การรมควัน
เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการสานเพื่อเพิ่มความแข็งแรง สวยงาม แก่เครื่องจักสานด้วยหวาย  ในส่วนที่ต้องการเสริมเป็นพิเศษได้แก่  ปาก ขา หู การผูกและพันด้วยหวาย  จะเสริมให้เครื่องจักสานเกิดความสวยงาม

การถักและพัน
เมื่อสานตัวเรียบร้อยก็ถึงการรมควันโดยจะทำในวันที่ไม่มีลม  ใช้ฟางพรมน้ำหมาด ๆ เป็นเชื้อเพลิงเพื่อให้เกิดควันมาก รมจนเครื่องจักสานมีสีเหลืองเท่ากันทั้งใบ แล้วนำมาเข้าส่วนประกอบหวาย  มีการผูกปาก  พันขา  ใส่ฐานและหูหิ้ว

  ผลการศึกษาพบว่า  กระบวนการถ่ายทอดความรู้หัตถกรรมเครื่องจักสานชุมชนบางเจ้าฉ่า  ตำบลบางเจ้าฉ่า  อำเภอโพธิ์ทอง  จังหวัดอ่างทอง  ประกอบด้วย
           1. เนื้อหาที่ถ่ายทอด  พบว่าไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาตามลำดับขั้นตอนการปฏิบัติที่ผู้ถ่ายทอดความรู้หัตถกรรมเครื่องจักสานได้บอกก่อนที่จะสอนให้ลงมือปฏิบัติ  และมีการบูรณการเนื้อหาหลายในการถ่ายทอดเข้าด้วยกันเรื่องเข้าด้วยกัน
          2.  วิธีการถ่ายทอดเน้นการถ่ายทอดเป็นรายบุคคลหรือตัวต่อตัว และเป็น
การสอน  สาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างควบคู่กับการบอกเล่า  และมีการซักถามได้เมื่อไม้ข้าใจ
          3.  สื่อที่ใช้ในการถ่ายทอด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 
               3.1  สื่อที่เป็นตัวบุคคลคือตัวผู้ถ่ายทอดหัตถกรรมเครื่องจักสานที่
เป็นเครือญาติ  เพื่อนบ้าน หรือสถานประกอบการ
               3.2     สื่อที่เป็นของจริง คือ สื่อ วัสดุ  อุปกรณ์  เครื่องมือ  ซึ่งเป็น
               3.3     สิ่งที่ผู้ถ่ายทอดหัตถกรรมเครื่องจักสานใช้ปฏิบัติงานเป็นปกติ
ประจำวัน  รวมถึงชิ้นงานเสร็จ

ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
         1. ผลการวิจัยพบว่า  กระบวนการถ่ายทอดความรู้หัตถกรรมเครื่องจักสาน ด้านเนื้อหาการถ่ายทอดยังไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร  ใช้การถ่ายทอดโดยการบอกเล่า และเน้นการปฏิบัติตาม ซึ่งจะพบว่าถ้าผู้ถ่ายทอดเสียชีวิต และไม่มีการสืบต่อของความรู้นั้น  ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นก็เกิดการสูญหายไป  ดังนั้นควรมีการเก็บภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ในรูปความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) โดยให้ชาวบ้านเกิดความตระหนักในการเก็บบันทึก   หรือให้ส่วนภาคราชการ  หรือองค์กรทางการศึกษาช่วยในการจัดเก็บบันทึก  ซึ่งจะทำให้เกิดการดำรงไว้ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นมีอยู่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
          2.  ผลการวิจัยพบว่าวิธีการถ่ายทอดหัตถกรรมเครื่องจักสานจะเน้นการถ่ายทอดเป็นรายบุคคล และเป็นการสอนปฏิบัติ  เนื้อหาไม่ชัดเจนใช้ประสบการณ์ของผู้สอน  ดังนั้นผู้ฝึกการทำหัตถกรรมเครื่องจักสานจึงต้องหาผู้ถ่ายทอดและเวลาในการปฏิบัติ  ซึ่งบางครั้งอาจจะเป็นการลำบากสำหรับบุคคลอื่นหรือหน่วยงานราชการที่จะเข้าไปศึกษาโดยใช้เวลาช่วงสั้นๆ  เพราะชิ้นงานที่สำเร็จของหัตถกรรมเครื่องจักสานในลักษณะที่มีความละเอียดมากจะใช้เวลามากเป็นเดือน  จึงสังเกตได้ว่าผู้ทำหัตถกรรมจักสานจะเป็นผู้ที่อยู่ในท้องถิ่นนั้นชุมชนนั่นๆเอง  จึงเกิดการเผยแพร่ในวงกว้างค่อนข้างยาก  แม้ว่าสถานศึกษาบางแห่งมีการสอนก็จะพบว่าต้องนำผู้เชี่ยวชาญหัตถกรรมเครื่องจักสานไปสอน  แสดงให้เห็นว่าถ้าจะจัดหลักสูตรหัตถกรรมเครื่องจักสานในหลักสูตรการศึกษาไม่ว่าจะเป็นประถมศึกษา มัธยมศึกษา  หรือการศึกษานอกโรงเรียนสานอาชีพ ควรใช้รูปแบบการศึกษาตามอัธยาศัยจึงจะเกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน  ให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษาในชุมชนนั้นๆ  โดยมีการสอนแบบตัวต่อตัวโดยผู้มีความเชี่ยวชาญในชุมชนนั้น  และยังเป็นการสร้างค่านิยม และกระตุ้นให้เกิดการรักวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย
          3.  ผลการวิจัยพบว่าสื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดเป็นบุคคลที่ที่มีความเชี่ยวชาญถ่ายทอดและใช้วัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับการทำหัตถกรรมเครื่องจักสานสอนและสาธิตให้ปฏิบัติ  ซึ่งจะสามารถใช้เสื่อได้ผู้ถ่ายทอดต้องว่างและพร้อมที่จะสอน  ดังนั้นจึงควรใช้สื่อที่เป็นเทคโนโลยีช่วยเช่น การทำวีดีโอ  การทำคู่มือ  การจัดบอร์ด เนื้อเกี่ยวกับกระบวนการทำหัตถกรรมเครื่องจักสานตั้งขั้นตอนการหาวัตถุดิบและการนำมาใช้  การสานลายต่างๆ การทำรูปทรงต่างๆ ให้มีความชัดเจนสามารถปฏิบัติตามได้  ซึ่งจะลดปริมาณเวลาไปนั่งเรียน  และลดเวลาของผู้ถ่ายทอด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น