วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

การเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส

การเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส

   การรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อันยาวนานของชนชาติไทย ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาจนถึงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้แสดงให้เห็นถึงอดีตอันรุ่งโรจน์และการสูญเสียดินแดนและเอกราชในช่วงต่างๆ ตั้งแต่สมัยที่อพยพถอยร่นลงมาจากเทือก เขาอัลไตมายังจีนตอนใต้ จนถูกจีนรุกรานโจมตีถอยร่นมาสามารถสร้างอาณาจักรไทยที่เป็นอิสระในดินแดนที่เรียกว่าสยาม หรือสุวรรณภูมิ และมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเวลาต่อเนื่องกันมาหลายร้อยปี ซึ่งทำให้คนชาติไทยกระจัดกระจายกันอยู่ทั่วไป ตั้งแต่ในตอนใต้ของจีน จนถึงแหลมอินโดจีน อาทิ ดังที่พระยาอนุมานราชธน เขียนถึงประวัติความเป็นมาของชนชาติไทย ไว้ใน พ.ศ.2483 ว่า
ไทยพวกแรกที่ยกลงมาในแหลมอินโดจีน ถ้าถือเอาตำนานพื้นเมืองมาเป็นหลัก ก็คงได้แก่พวกไทยใหญ่ พวกนี้คงอพยพลงมาตามแนวลุ่มน้ำเมาและน้ำคง แล้วต่อมาก็มีไทยพวกอื่นยกแยกลงมาตามลำน้ำโขง ผ่านเข้าไปในดินแดนสิบสองปันนา และแดนสิบสองจุไทย (แดนนี้เป็นที่อยู่ของพวกผู้ไทย ซึ่งเป็นไทยสาขาหนึ่ง ชาวหลวงพระบางเรียกผู้ไทยว่า ลาวเก่า (คือพวกอ้ายลาวเดิม)แสดงว่าพวกผู้ไทยมาอยู่ในแคว้นนี้ก่อน พวกไทยน้อยยกตามมาที่หลัง พวกทรงดำอยู่ทางจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี ก็คือพวกผู้ไทยดำ)พวกหลังนี้เรียกว่า ไทยน้อย ซึ่งต่อมาบางพวกได้เข้ามาอยู่ในแดนลานนาไทย แล้วในที่สุดขยายแดนลงมาในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เรื่อยลงมาถึงแหลมมลายูโดยลำดับ จนมาเป็นประเทศไทยอยู่บัดนี้
อดีตอันรุ่งโรจน์ และการสูญเสียของชนชาติไทยอันมีประวัติศาสตร์สืบเนื่องมายาวนานเหล่านี้ ถูกนำมาใช้เพื่อหลอมรวมคนเชื้อชาติไทยให้มีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้วยความผูกพันธ์ทางเชื้อชาติเป็นสำคัญ ซึ่งอาจเห็นได้อย่างชัดเจนจากการเปลี่ยนชื่อประเทศสยามให้เป็นประเทศไทย โดยนอกจากจะทำให้ชื่อประเทศตรงกับชื่อเชื้อชาติของพลเมือง (ส่วนใหญ่) แล้ว ยังเป็นการเพิ่มพูนความรักประเทศ ระลึกถึงความเป็นไทย และ เป็นการปลูกความสามัคคีระหว่างชาวไทยในประเทศนี้กับชาวไทยที่กระจัดกระจายอยู่ในประเทศอื่นให้มีความรักใคร่กันยิ่งขึ้น
นอกจากนั้นแล้ว เหตุการณ์ประวัติศาสตร์แห่งการสูญเสียดินแดนให้กับการล่าอาณานิคมของจักรวรรดินิยมตะวันตกเป็นเหตุการณ์ที่ยังฝังอยู่ในความรู้สึกคนร่วมสมัยจำนวนไม่น้อย โดยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยต้องสูญเสียดินแดนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและดินแดนอื่นๆให้กับฝรั่งเศสที่คุกคามสยาม ถึงขั้นนำเอาเรือปืนบุกแล่นฝูาปฺอมปืนที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามาประชิดถึงตัวพระราชวังได้ และทำให้รัฐบาลสยามต้องยินยอม เสียดินแดนบางส่วนเพื่อแลกกับเอกราชและอำนาจอธิปไตยของสยามเอาไว้ สยามจำเป็นต้องยกดินแดนให้กับฝรั่งเศสรวม 5 ครั้งด้วยกันคือ
ใน พ.ศ.2410 เสียพื้นที่ที่เป็นเขมรส่วนใหญ่ และเกาะ 6 เกาะ
เสียแคว้นสิบสองจุไทย
เสียฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
เสียฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงข้ามหลวงพระบาง และตรงข้ามปากเซ
เสียจังหวัดพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ และต้องเสียดินแดนที่เรียกว่าหัวเมืองเงี้ยวและหัวเมืองตะวันออก รวมทั้งรัฐไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิสให้อังกฤษ ใน พ.ศ.2435 และ พ.ศ.2451 ตามลำดับ
สำนึกแห่งอดีตของคนทั่วไป นอกจากจะรับรู้ถึงอดีตอันยิ่งใหญ่ของชนชาติไทย ยังได้รับอิทธิพลจากละครอิงประวัติศาสตร์ของหลวงวิจิตรวาทการ ที่กล่าวได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดในการเรียกร้องดินแดนที่เคยสูญเสียไปคืนมา เช่น เรื่องราชมนู (พ.ศ.2480) ที่กล่าวถึงชาวเขมรว่าเป็นคนไทยเช่นเดียวกัน เพียงแต่เข้าไปอยู่ในดินแดนของขอมโบราณจึงเรียกว่าชาวเขมรต่อมา หรือเรื่องเจ้าหญิงแสนหวี (พ.ศ.2481) ที่กล่าวถึงการมีเชื่อชาติ และวัฒนธรรมร่วมกันระหว่างชาวไทยใหญ่ (ในแคว้นฉานพม่า) และชาวไทยน้อย ซึ่งก็คือไทยสยาม ถึงแม้ว่าจะแยกจากกันแต่ก็คงเป็นไทยเหมือนกัน
ในส่วนของการดำเนินการทางเกี่ยวกับดินแดนที่เสียไปในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น เกิดจากในปี พ.ศ.2482 ก่อนที่จะเกิดสงครามในยุโรป ฝรั่งเศสได้ยื่นเสนอขอทำสัญญาไม่รุกรานกับไทย ส่วนรัฐบาลไทยได้ขอให้ฝรั่งเศสนำเอาปัญหาชายแดนด้านแม่น้ำโขงขึ้นมาพิจารณาปรับปรุงเส้นเขตแดน ให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติทางกฏหมายระหว่างประเทศแต่ยังไม่มีการเจรจาตกลงกันจนกระทั่ง เดือนมิถุนายน พ.ศ.2483 เมื่อฝรั่งเศสเป็นฝูายพ่ายแพ้ต่อเยอรมนี ฝรั่งเศสจึงได้มาขอร้องให้รัฐบาลไทยให้สัตยาบันในกติกาไม่รุกราน อันจะทำให้กติกาสัญญานี้มีผลบังคับใช้ในทันที
รัฐบาลไทยเกรงว่าอินโดจีนของฝรั่งเศสอาจจะต้องเสียให้กับญี่ปุูน ซึ่งเริ่มเข้ามามีอิทธิพลและย้ายกองทหารเข้ามาประจำการในอินโดจีนแล้วในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2483 รัฐบาลไทยจึงถือโอกาสยื่นข้อเสนอ 3 ประการ เพื่อแลกกับคำขอของรัฐบาลฝรั่งเศส คือ

วางแนวเส้นเขตแดนตามลำแม่น้ำโขงให้เป็นไปตามหลักกฏหมายระหว่างประเทศ

ปรับปรุงเขตแดนให้เป็นไปตามธรรมชาติ โดยให้ถือว่าแม่น้ำโขงเป็นเขตแดนระหว่างไทยกับอินโดจีนของฝรั่งเศส ตั้งแต่ทิศเหนือจดทิศใต้ จนถึงเขตแดนกัมพูชา และให้ไทยได้รับดินแดนทางฝั่งขวาตรงข้ามหลวงพระบางและปากเซกลับคืนมา และ
ขอให้ฝรั่งเศสรับรองว่า ถ้าอินโดจีนมีการเปลี่ยนแปลงสูญเสียอำนาจอธิปไตยของฝรั่งเศสไป ฝรั่งเศสจะคืนอาณาเขตลาวและกัมพูชาให้แก่ไทย
ปรากฏว่าข้อเสนอของไทยได้รับการปฏิเสธจากฝรั่งเศส ในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2483 โดยฝรั่งเศสยืนยันจะขอทำกติกาสัญญาไม่รุกรานกับไทย และให้มีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันกันเท่านั้น

ความล้มเหลวในการเจรจากับฝรั่งเศส ทำให้รัฐบาลทำการรณรงค์เรื่องการเรียกร้องดินแดนคืนในหมู่ประชาชน อันจะเป็นเหตุผลที่ทำให้รัฐบาลสามารถใช้กำลังทหารเข้าไปต่อสู้เพื่อนำดินแดนคืนมาได้ ก่อนที่สงครามอินโดจีนจะเริ่มขึ้นประมาณ 6 เดือน คณะผู้จัดรายการสนทนานายมั่น - นายคง ได้รับคำสั่งจากนายกรัฐมนตรี พลตรีหลวงพิบูลสงครามให้โฆษณาหยั่งเสียงประชาชนดูว่า เห็นด้วยหรือไม่ที่รัฐบาลจะเรียกร้องเอาดินแดนที่เสียไปกลับคืนมา

การโฆษณา ในเรื่องนี้ สังข์ พัธโนทัย บันทึกไว้ว่า

ย่อมไม่มีอะไรดีเท่ากับหยิบยกเอาพฤติการณ์ของฝรั่งเศส ที่ทำแก่ประชาชนคนไทยในสมัยที่พวกผิวขาวกำลังแผ่จักรวรรดิในเอเชียขึ้นมาเล่าให้ประชาชนฟัง โดยเฉพาะพฤติการณ์ของ ม. ปาวี และ กรณีที่ฝรั่งเศสปิดอ่าวไทย เมื่อ ร.ศ.112 พอนายมั่น - นายคงโฆษณาเรื่องนี้ได้พักเดียว ก็ได้เห็นการเดินขบวนขนาดใหญ่ของประชาชน และนักศึกษาผ่านหน้ากรมโฆษณาการไม่เว้นแต่ละวัน ทำให้คณะเราเกิดกำลังใจที่จะดำเนินการโฆษณาการปลุกใจให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
ดินแดนดังกล่าวที่ไทยต้องการเรียกร้องให้ได้คืนมานั้น รับรู้กันในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามว่าไม่ได้เป็นเพียงดินแดนที่เคยอยู่ในการปกครองของราชอาณาจักรไทย แต่เป็นดินแดนของคนชาติไทย ที่ถูกปกครองโดยชาติอื่น กล่าวคือ
ดินแดนเหล่านั้นเป็นดินแดนของเราจริงๆ ไม่ใช่เมืองขึ้นไม่ใช่อาณานิคม ไม่ใช่ต่างแดน แต่เป็นถิ่นที่อยู่ของชนชาติไทย เลือดไทย ซึ่งเป็นหน่อเนื้อเชื้อไข มีชีวิตจิตต์ใจ และมีวัฒนธรรมอันเดียวกับพวกเรา รวมความว่า เป็นเลือดเนื้อของเราแท้ๆ ชนชาติที่เป็นเลือดเนื้อเชื้อเดียวกับเรามีจำนวน 4 ล้านคน ต้องเสียอิสสรภาพ ต้องตกอยู่ในอำนาจบังคับและความกดขี่ข่มเหงอย่างทารุณ
ดังนั้น ความต้องการที่จะได้ดินแดนคืนจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับเกียรติยศของชาติ ที่ไม่สามารถ ทนดูเพื่อนร่วมชาติของตน ตกอยู่ในความบังคับกดขี่ของชาติอื่น
นโยบายการเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศสของรัฐบาล ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างกว้างขวาง เห็นได้จากการเดินขบวนเรียกร้องดินแดนคืน จากการริเริ่มของนิสิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักเรียนเตรียมปริญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2483 จำนวนประมาณ 3,000 คน โดยขบวนที่ประกอบด้วยธงไตรรงค์ และแผ่นปฺายเขียนคำแสดงความต้องการได้ดินแดนคืนเช่น ไทยยอมตาย เมื่อไม่ได้ดินแดนคืนหรือ เราต้องรบ ถ้าไม่ได้คืนร่วมกับเสียงตะโกนของผู้เดินขบวนได้เคลื่อนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาหยุดที่หนัาศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม
นายกรัฐมนตรีได้มาให้โอวาทแก่ผู้ทำการเดินขบวน และย้ำว่า ไทยต้องการเรียกร้องสิ่งที่เป็นของตนคืนมาเท่านั้น ซึ่งประชาชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนที่ไทยกำลังเรียกร้องนั้นก็เป็นพี่น้องเลือดเนื้อชาวไทยด้วยกัน

การเดินขบวนครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่ได้มีการเดินขบวนขึ้นและในตอนบ่ายวันเดียวกันนั้นเองก็ได้มีการเดินขบวนของนักศึกษามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองรวมทั้งนักเรียนเตรียมปริญญาขึ้นอีกครั้งหนึ่งด้วย
หลังจากวันที่ 8 ตุลาคมเป็นต้นมาก็ได้มีการเคลื่อนไหวเดินขบวนของกลุ่มองค์กรต่างๆ อีกมากมาย เช่น นักเรียนพยาบาลผดุงครรภ์แห่งโรงพยาบาบศิริราช นักเรียนและครูโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และโรงเรียนอำนวยศิลป์หรือนักเรียนฝึกหัดครูในเขตกรุงเทพฯ 14 โรงเรียน รวมทั้งมีการเดินขบวนครั้งใหญ่ของประชาชนในพระนคร ในวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.2483 จำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน ซึ่งการเดินขบวนสนับสนุนรัฐบาลนี้ได้ขยายไปยังจังหวัดต่างๆ อีกด้วย
การเคลื่อนไหวของประชาชนได้กลายเป็นมติมหาชนที่สามารถทำให้รัฐบาลใช้ความรุนแรงนำดินแดนที่เสียไปกลับคืนมา คือการต่อสู้ด้วยกำลังทหาร บรรยากาศทางการเมืองที่สร้างความตึงเครียดให้กับฝูายไทยกับฝรั่งเศส นำไปสู่การปะทะกันตามชายแดน และกลายเป็นการรบที่รุนแรงขึ้นตั้งแต่เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2483 หลังจากการที่ฝรั่งเศสเข้ามาทิ้งระเบิดที่นครพนม แต่ก็เป็นการรบแบบที่ไม่มีการประกาศสงคราม จนถึงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2484 (มีการเปลี่ยนมาใช้ปฏิทินใหม่ โดยเริ่มนับวันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่ และทำให้ปี พ.ศ.2483 หมดลงในเดือนธันวาคม โดยมีเพียง 9 เดือน) ทหารฝรั่งเศสได้เข้าบุกโจมตีอำเภออรัญประเทศอย่างรุนแรง รัฐบาลไทยจึงได้ประกาศสงครามกับฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2484 สังข์ พัธโนทัย เล่าถึงเหตุการณ์ช่วงนี้ว่า
เมื่อนายมั่น - นายคง โปรปะกันดา (propaganda) มา 6 เดือนเต็ม ทัพไทยซึ่งขวัญดีก็พร้อมกันยาตราทัพเข้ารบกับฝรั่งเศสอินโดจีนทั้งทัพเรือบกและอากาศในแนวรบอันยาวเหยียดกำลังของเราเหนือฝรั่งเศสและทหารของเราซึ่งมีเสื้อยันต์พรักพร้อมก็รบอย่างห้าวหาญ ฝรั่งเศสต่อสู้อย่างเหนียวแน่นแต่ทนความกล้าหาญของทหารไทยไม่ได้ต้องล่าถอยไปในแนวรบทุกด้าน
การรบระหว่างไทยกับฝรั่งเศสดำเนินไปประมาณเกือบ 1 เดือน กองทัพไทยสามารถบุกเข้ายึดดินแดนกลับคืนมาได้บางส่วน รายการสนทนานายมั่น - นายคง คอยรายงานความเคลื่อนไหวของสงครามอินโดจีนที่ไทยเป็นฝูายได้เปรียบทุกระยะ อาทิ ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ.2484 รายงานกล่าวว่า
แม้แต่ข่าวที่ฮานอยเองก็สารภาพว่า ไทยได้อาณาเขตต์ส่วนมากของกัมพูชาแล้ว ทหารอินโดจีนฝรั่งเศสต่อต้านทหารไทยไม่ไหว เราุจับธงไชยเฉลิมพลฝรั่งเศสได้ จับเชลยศึกทั้งผิวขาวผิวดำ และได้อาวุธยุทธภัณฑ์ขนกับหลายคันรถุ.เวลานี้ความมีชัยเป็นของเราแล้ว ธงไตรรงค์ของไทยได้ปลิวสะบัดในอินโดจีน ถูกต้องตามพิธีการตั้งแต่วันที่ 17 มกราคมเดือนนี้แล้ว และประชาชนดินแดนที่ยึดได้ต่างก็มาต้อนรับธงไตรรงค์ของเราอย่างเอิกเกริก ไม่เหมือนครั้งกระโน้น เมื่อเวลาชักธงชาติของเราลง ชักธงฝรั่งเศสขึ้นแทน ประชาชนต่างก็เงียบสงบและเหงาทุกหนทุกแห่งุ

ดังนั้น ในสงครามอินโดจีน ธงไตรรงค์ที่ชักขึ้นในดินแดนของฝรั่งเศส จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งการได้ดินแดนคืนกลับมาเป็นของสยามอีกครั้งหนึ่ง อันเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมยินดีเป็นอย่างยิ่ง นายมั่น - นายคง กล่าวต่อไปว่า
ุธงไตรรงค์ของเราได้ชักขึ้นแล้วในอินโดจี เราจะไม่ยอมปลดลงเป็นอันขาดตราบใดที่เราดำรงชาติไทยอยู่ ธงของเรา ดินแดนของเรา พี่น้องเลือดเนื้อไทยของเรา ทั้งสามอย่างนี้เรารักเสมอชีวิต อยู่ที่ไหนต้องอยู่พร้อมกันสามประการ จะยอมให้ขาดไปอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้ บัดนี้พี่น้องชาวอินโดจีนของเราตามดินแดนที่เรายึดได้นั้นมีพร้อมแล้ว ทั้งธงไทย ดินแดนไทย พลเมืองไทย เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ ก็มีโอกาสที่จะได้ช่วยกันสร้างสมความเจริญก้าวหน้าโดยไม่มีอุปสรรคจากภายนอกอะไรมาขัดขวางุ
สงครามในอินโดจีนจึงเป็นการเพิ่มความสำคัญและความรู้สึกรักและหวงแหนในธงไตรรงค์ในเกิดขึ้นในประชาชนชาวไทยมากยิ่งขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ก่อนที่การสู้รบจะถึงจุดแตกหัก รู้ผลแพ้ชนะ ญี่ปุูนก็ได้เสนอตัวเข้ามาเป็นคนกลางไกล่เกลี่ย ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสให้ยุติการรบ ซึ่งในที่สุดทั้งไทยและฝรั่งเศสก็ตกลงยินยอมให้มีการเจรจาทำความตกลงระงับข้อพิพาท โดยกระทำกันที่กรุงโตเกียว ประเทศเทศญี่ปุูน ผลของการเจรจาเป็นไปตามสัญญาอนุสันติภาพระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2484 ตามอนุสัญญาฉบับนี้ ประเทศไทยได้ดินแดนกลับคืนและได้ยกดินแดนดังกล่าวขึ้นเป็นจังหวัดของไทย คือ

1) ยกแคว้นหลวงพระบาง บริเวณฝั่งขวาแม่น้ำโขง ขึ้นเป็นจังหวัดลานช้าง
2) ยกแคว้นนครจัมปาศักดิ์ ฝั่งขวาแม่น้ำโขง ขึ้นเป็นจังหวัดจำปาศักดิ์
3) ยกท้องที่เมืองเสียมราฐ ขึ้นเป็นจังหวัดพิบูลสงคราม และ
4) ยกท้องที่เมืองพระตะบอง ขึ้นเป็นจังหวัดพระตะบอง

อาจกล่าวได้ว่า จุดสูงสุดในเชิงสัญลักษณ์ของชัยชนะในสงครามอินโดจีน ก็คือการที่ไทยสามารถนำเอาธงชาติไทยกลับไปปักปลิวสะบัดอยู่ในดินแดนที่ได้กลับคืนมา ใน พ.ศ.2484 กล่าวคือ หลังจากที่ไทยต้องยกดินแดนบริเวณ มณทลบูรพาในกัมพูชาให้แก่ฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ.2450 พระยาคธาธรธรณินทร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์ ต่อมาได้รับเลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นพระยาอภัยภูเบศร์) ผู้สำเร็จราชการมณฑลบูรพา ต้องอพยพครอบครัวเดินทางกลับกรุงเทพฯ และต้องอัญเชิญธงช้างซึ่งเป็นธงชาติสยามสมัยนั้นกลับคืนสู่ประเทศด้วย พระยาคธาธรธรณินทร์ ก็คือบิดาของหลวงโกวิทอภัยวงศ์ หรือพันตรีควง อภัยวงศ์ (ตอนอพยพกลับกรุงเทพฯ นั้น พันตรีควง เพิ่งอายุได้เพียง 5 ขวบ) และหลังจากการเจรจาได้ดินแดนเมืองพระตะบองกลับคืนมาแล้ว พันตรีควง อภัยวงศ์ ได้รับแต่งตั่งเป็นประธานกรรมการรับมอบดินแดนทางด้านบูรพา ซึ่งประกอบด้วยกรรมการ คือ พันเอกหลวงวีระ วัฒนโยธิน พันเอกหลวงยอดอาวุธ พันเอกหลวงราญปฏิเวธ หม่อมเจ้าวงศานุวัฒน์ เทวกุล พันตรีพูล มาใช้เวทย์ นายอุดม บุญยประกอบ และนายสง่า นิลกำแหง ก่อนเดินทางไปรับมอบดินแดนคืน พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ประธานคณะกรรมการ ได้กล่าวคำอำลานายกรัฐมนตรี เพื่อจะไปรับมอบดินแดนคืนจากฝรั่งเศสในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2484 ว่า ตนรู้สึกขอบใจนายกรัฐมนตรีที่ให้ความไว้วางใจและให้เกียรติแต่งตั้งตนเป็นประธานอำนวยการในคราวนี่ เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับตนอย่างลึกซึ้ง กล่าวคือ
ุเมื่อ 34 ปีมาแล้ว ท่านบิดาของกระผมได้เป็นผู้อัญเชิญธงไทยกลับสู่ประเทศไทยด้วยอาการอันนองน้ำตา และในวาระนี้ กระผมผู้เป็นบุตรได้มีโอกาสเชิญธงไทยกลับสู่ถิ่นเดิม ซึ่งกระผมรู้สึกว่า นอกจากจะเป็นการสนองเกียรติประเทศชาติ และรัฐบาลแล้ว ยังเป็นการสนองความปราถนาอันแรงกล้าของท่านบิดาอีกด้วย

จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้กล่าวตอบรับคำของคุณของประธานรับมอบดินแดนในโอกาสนี้
ว่า
ข้าพเจ้าขอมอบธงช้างอันเป็นธงไทยเดิม ซึ่งท่านเจ้าคุณบิดาของท่านรัฐมนตรีได้นำกลับคืนมาสู่ประเทศไทยเมื่อ 34 ปีที่แล้วมา พร้อมกับธงไตรรงค์อันเป็นธงไทยประจำชาติของเราในปรัตยุบันนี้ให้แก่ท่านและให้แก่จังหวัดต่างๆ ในเวลาเดียวกันนี้ เพื่อนำไปประดิษฐานในดินแดนใหม่ของเรา เป็นประจักษ์พยานว่าพวกเราได้สร้างความเป็นปึกแผ่นแน่นหนาให้แก่มวลพี่น้องชาวไทยในดินแดนเดิม ซึ่งได้รับโอนมาใหม่นั้น และเป็นเครื่องหมายแห่งความกว้างใหญ่ไพศาลของชาติไทยในปรัตยุบันนี้
ต่อมาในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2484 นายกรัฐมนตรีก็ได้กล่าวให้โอวาทแก่บรรดาทหารที่จะไปปฏิบัติหน้าที่ในการรับมอบดินแดนแห่งราชอาณาจักรเดิมของไทยว่า
เมื่อพี่น้องทหารทั้งหลายได้เข้าสู่ดินแดนใหม่แห่งราชอาณาจักรเดิมของไทยนี้แล้ว ท่านจะได้พบธงช้างกับธงไตรรงค์คู่กัน ชักขึ้นประดิษฐาน ณ สถานที่ราชการต่างๆ ขอให้พี่น้องทหารทั้งหลายจงมีความอิ่มเอิบใจและให้ระลึกไว้ว่า การที่ธงไทยทั้งเก่าและใหม่ได้ปรากฏขึ้นในดินแดนเหล่านั้น ก็ด้วยความเสียสละแห่งเลือดเนื้อและชีวิตของเรา เราได้นำชีวิตและเลือดเนื้ออันเป็นของสุดสงวนไปซื้อมาไทยแก่มวลพี่น้องชาวไทยทั้งชาติ นับได้ว่าเราได้ปฏิบัติหน้าที่ของชายชาติทหารสำเร็จครบถ้วนแล้วทุกประการุ
นอกจากนั้น ชาวเมืองพระตะบองก็ยังได้จัดหาธงไตรรงค์กันอย่างซ่อนเร้น (เนื่องจากฝรั่งเศสยังปกครองอยู่) เพื่อที่จะต้อนรับคณะที่จะเข้ามารับมอบดินแดน ซึ่งในเช้าวันที่ 25 กรกฎาคม ชาวเมืองต่างก็ชักธงไตรรงค์กันอย่างพร้อมเพรียงซึ่งเป็นที่น่าปีติยินดีสำหรับคณะผู้รับมอบดินแดน และเมื่อพันตรีควง อภัยวงศ์ ได้นำธงช้างอันเป็นธงชาติสยามเดิมไปชักขึ้นที่หน้ามุขตึกที่พักซึ่งเป็นที่ทำการของคณะกรรมการรับมอบดินแดนในวันที่ 26 กรกฎาคมนั้น มีไม่น้อยคนที่ยืนดูด้วยน้ำตาคลอ
ต่อมาช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น ญี่ปุูนได้ขอเดินทัพผ่านประเทศไทยไปยังพม่า และเพื่อเข้าไปตีโอบล้อมประเทศจีนขึ้นไปจากทางภาคใต้อีกทางหนึ่ง(ตอนนั้นญี่ปุูนได้บุกเข้าจีนทางภาคเหนือ โดยมีฐานที่มั่นอยู่ในประเทศแมนจูเรีย ซึ่งมีรัฐบาลของจักรพรรดิปูยีเป็นรัฐบาลหุ่น และเป็นผลให้พรรคก๊กมิ่นตั๋งกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน ยุติสงครามกลางเมืองและหันมาร่วมมือกันต่อสู่ต่อต้านการรุกราน

ส่วนสาเหตุที่ไทยรุกเข้าไปในแคว้นไทยใหญ่นั้น นอกจากจะเป็นไปตามกติกาสัญญาพันธมิตรไมตรีที่มีร่วมกันระหว่างไทยกับญี่ปุูนแล้ว เมืองเชียงตุงเองก็เคยตกเป็นดินแดนของไทยมาก่อน โดยนายมั่น - นายคง กล่าวว่า เมืองเชียงตุงที่เรายึดได้เมื่อวันที่ 26 เดือนนี้ อันที่จริงก็เป็นดินแดนเดิมของอาณาจักรไทยนั่นเองเช่นเดียวกับที่นายกรัฐมนตรีจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้กล่าวถึงการเข้ายึดสหรัฐไทยใหญ่ ว่า
กองทัพไทยของเราก็ได้ไปทำการเปิดจิตไจของพี่น้องชาวไทย ในสหรัถไทยไหย่ให้ได้รับรสมีความเบิกบานแห่งเสรีภาพ และอิสสระภาพพ้นจากความเปนทาสคืนกลับสู่ความเปนไทยร่วมกันไนราชอาณาจักไทย
ต่อมาในวันที่ 2 มกราคม 2486 รายการของนายมั่น - นายคง ก็ได้กล่าวถึงการมีชัยชนะอย่างสมบูรณ์เหนือดินแดนสหรัฐไทยใหญ่ โดยกล่าวถึงบทความของ ท่านสามัคคีไทย” (จอมพล ป. พิบูลสงคราม) ที่ได้กระจายเสียงทางวิทยุไปแล้โดยมีเนื้อหาว่า สามัคคีไทยเห็นว่า ในสัปดาห์นี้เป็น สัปดาห์แห่งโชคชัยเพราะกองทัพไทยสามารถมีชัยชนะอย่างสมบูรณ์ที่สหรัฐไทยใหญ่นั่นเอง โดยนายมั่น - นายคงได้กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า
วันที่ 7 มกราคม ถึงวันที่ 2ถ มกราคม เป็นสัปดาหะแห่งชัยชนะของสกุลไทยหย่างแท้จริง เพราะเปนสัปดาหะที่กองทัพไทยนำชัยชนะมาเปนพุทธบูชาุและนำพี่น้องไนครอบครัวไทยมาร่วมสกุลไทย ซึ่งเปนสกุลของพ่อแม่ร่วมกันของพวกเรามาแต่ดั้งเดิม
นอกจากนั้นแล้ว นายมั่น - นายคง ยังกล่าวอีกว่า ไตรรงค์ทงชาติไทยของเราคราวนี้มีชีวิตจิตไจเพิ่มยิ่งขึ้นซึ่ง ท่านสามัคคีไทยได้กล่าวไว้ว่า ไตรรงค์ธงชาติไทย มีชีวิตขึ้นได้เพราะรบ กินหยู่ วัธนธัม เมื่อกองทัพไทยรบชนะเช่นนี้แล้ว ไตรรงค์ทงชาติไทยก็ต้องมีชีวิตสดไสยิ่งขึ้นหย่างแน่นอน ยิ่งมือนักรบผู้กล้าหานของเราถือไปสบัดอยู่ตามชายแดนถิ่นไทยเดิมของพ่อแม่ในสหรัถไทยไหย่ทั่วทุกหนแห่งด้วยแล้ว ทงชาติไทยก็มีชีวิตสดใสยิ่งขึ้นในมือของเผ่าสกุลไทยเอง ไทยในยูนนานก็ได้เห็นทงชาติไทยของเขาอีกวาระหนึ่ง
นอกจากนั้น เหตุการณ์ช่วงนี้จะเป็นช่วงเวลารอยต่อทางประวัติศาสตร์ ที่จะเชื่อมระหว่างปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ และ เปนหัวต่อสำคันที่จะเชื่อมโยงไทยภายใต้ความควบคุมของพุทธศาสนาในลุ่มน้ำเจ้าพระยากับไทยในแคว้นยูนนานให้สนิทชิดเชื้อกันยิ่งขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้น นายมั่น - นายคง ยังกล่าวแทนถึงความรู้สึกของผู้คนที่อยู่ทางเชียงรุ่ง
ด้วยว่า
ความรู้สึดเช่นนี้เราหยู่ทางนี้น่ากลัวจะหาคำพูดไห้เพียงพอไม่ได้ ต้องหยู่ทางเชียงรุ่งเอง และเห็นทงไตรรงค์รำไรอยู่ข้างหน้า แล้วจึงจะเล่าถูก ทำไมพี่น้องชาวเชียงรุ่งของเราจะไม่ยินดีล่ะ เมื่อทงไตรรงค์เป็นทงของสกุลไทย เป็นทงของไทยยูนนานุ
ก่อนจบรายการ นายมั่น - นายคง กล่าวบทกล่อมขวัญลูกไทย (เด็กเกิดในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2486) มีเนื้อหายืนยันความเห็นที่กล่าวไปแล้วว่า
ลูกเอ๋ย ลูกไทย เกิดมาในสมัยไทยรุ่งเรือง ธงชาติไทยแกว่งไกวไนเชียงตุง แล้วเลยพุ่งตรงไปไนยูนนาน พ่อเอาเลือดทาไว้เพื่อไตรรงค์ ขยายวงศ์สกุลไทยให้ไพศาลุ
ดังนั้น ธงไตรรงค์ในตอนนี้ ได้รับการสร้างความหมายโดยรัฐว่าไม่ได้เป็นเพียงแค่ธงชาติของประชาชนพลเมืองในชาติไทย และในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังจะเป็นได้ถึงธงชาติของปวงผู้คนที่มีเชื้อสายอยู่ในสกุลไทยกล่าวคือเป็นธงชาติของบรรดาคนเชื้อชาติไทยทั้งหมด ซึ่งรัฐไทยจะต้องนำทัพไปยึดเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง กับรัฐไทยในขณะนั้น
กล่าวได้ว่า นี่เป็นจุดสูงสุดของการรณรงค์เกี่ยวกับสำนึกความเป็นชาติที่หลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างความเป็นชาติกับความเป็นธงชาติของธงไตรรงค์ซึ่งใช้ออกไปอย่างกว้างขวางครอบคลุมไปถึงคนเชื้อชาติไทยในดินแดนต่างๆ ที่อยู่นอกรัฐไทยให้รวมเข้ามาใช้ธงไตรรงค์ร่วมกัน รวมทั้งยังอธิบายด้วยว่า คนเหล่านั้นอยากจะเข้ามาร่วมวงศ์ไพบูลย์อยู่ภายใต้ธงไตรรงค์ร่วมกับชาติไทยอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และยังไม่เคยเกิดขึ้นอีกเลยหลังจากนั้น
ส่วนการดำเนินการโฆษณารณรงค์เรื่องการเคารพธงชาติในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ถือว่าประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี การเคารพธงชาติได้กลายเป็นหลักปฏิบัติที่มีระเบียบแบบแผน และเป็นสิ่งที่ประชาชนถือว่าเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติในชีวิตประจำวัน และในขณะที่นโยบายทางวัฒนธรรมหลาย อย่างๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ถูกยกเลิกไป เช่น การห้ามกินหมาก การบังคับให้สวมหมวกออกจากบ้าน ฯลฯ แต่เรื่องการเคารพธงชาติเป็นเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามและยังคงปฏิบัติต่อมา แม้ว่าในปลาย พ.ศ.2487 รัฐบาลควง อภัยวงศ์ ได้ออก ระเบียบการชักธงชาติ พุทธศักราช 2488“ ขึ้นใหม่ (ประกาศวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ.2487) แต่ก็ยังมีเนื้อความคล้ายคลึงกับระเบียบการชักธงชาติที่ออกใน พ.ศ.2483 สังข์ พัธโนทัย ได้เขียนบันทึกไว้ในระหว่างที่ถูกจับขังคุกขณะรอการสอบสวน ในกรณีที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นอาชญากรสงครามหลังการสิ้นสุดของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และสงครามโลกครั้งที่ 2 ใน พ.ศ.2488 ได้กล่าวถึงการเคารพธงชาติในคุกว่า
ุวันพุธได้ยินเสียง ผบก. (ผู้บัญชาการเรือนจำ) สั่งเคารพธงชาติอยู่ที่ระเบียงและได้ยินเสียงแตรวงบรรเลงอยู่ไกลๆ ลุกจากที่นอนขึ้นมายืนตรงอยู่จนสิ้นเสียงเพลงแล้ว ผบก. อธิบายว่า ที่นี่มีการทำพิธีชักธงชาติทุกวัน ชักนึกกระหยิ่มใจว่าไม่เสียแรงที่ นายมั่น จ้ำจี้จ้ำไชพูดอยู่หลายหน ผลอันนี้ยังคงเหลืออยู่ จนตัวผู้พูดเองมาได้รับคำชี้แจงเรื่องการเคารพรธงชาติอยู่ในกรงเหล็ก ดูก็ไม่เลวเลยุ
ส่วนจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ถูกจับกุมด้วยนั้น สังข์ พัธโนทัย บันทึกไว้ว่า ุเช้าๆ เย็นๆที่โรงพักนี้ เขามีการทำพิธีชักธงชาติขึ้นและลงตามเคย ท่านจอมพลทำความเคารพธงชาติอย่างเข้มแข็งทุกครั้ง ครั้งหนึ่งทำความเคารพแล้วหันหน้ามาทางฉัน พูดเบาๆ ว่า นี่เป็นงานชิ้นหนึ่งที่เราทำกันไวุ้
 ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐบาลพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา และรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ให้ความสำคัญต่อธงไตรรงค์มากกว่าที่เคยเป็นมา มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจความหมายของธงไตรรงค์ว่าเป็นสัญลักษณ์แทนเอกราช และอธิปไตยของสยาม ทั้งเป็นสัญลักษณ์ที่ก่อให้เกิดความรักชาติ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธงไตรรงค์ ได้เป็นสัญลักษณ์สำคัญที่ต้องปฏิบัติด้วยความเคารพ เสมือนเคารพต่อชาติตนเองรวมทั้งมีการกำหนดระเบียบปฏิบัติต่างๆ เพื่อแสดงถึงเกียรติยศของธงชาติ และกำหนดให้เกิดพิธีการเคารพธงชาติขึ้นเป็นประจำทุกวัน อันเป็นประเพณีปฏิบัติที่สืบต่อมาจนทุกวันนี้



ที่มา : http://www.baanjomyut.com/library_2/claim_the_land_back_from_france/index.htmlสงบและเหงาทุกหนทุกแห่งุ” 

ทฤษฎีทวีปเลื่อน (Continental Drift Theory

                   
ทฤษฎีทวีปเลื่อน (Continental Drift Theory)

 ทฤษฎีนี้เกิดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 จากการศึกษาแผนที่โลกของ ฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon) โดยคาดเดาว่า ทวีปอเมริกาใต้ และทวีปแอฟริกา หากดันเข้ามาประกอบกัน สามารถเชื่อมต่อกันได้พอดี
ต่อมาในปี ค.ศ.1915 อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Alfred Wegener) ได้นำเสนอเกี่ยวกับทฤษฎีทวีปเลื่อนว่า เมื่อประมาณ 200 - 300 ล้านปีที่ผ่านมา แผ่นดินทั้งหมดในโลกรวมเป็นผืนเดียวกัน เรียกว่า แพงเจีย” (Pangaea : แปลว่า ผืนแผ่นดินเดียวกัน) ซึ่งประกอบด้วยทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ แอฟริกา ออสเตรเลีย อินเดีย และหมู่เกาะมาดากัสการ์ มากล่าวไว้ โดยกล่าวว่า ในยุคไตรแอสสิก ทวีปที่เดิมเป็นผืนแผ่นเดียวกันจะเริ่มค่อย ๆ มีการแยกตัวออกจากกัน โดยทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้จะค่อย ๆ แยกจากทวีปแอฟริกา และทวีป ยุโรป จึงทำให้ขนาดของมหาสมุทรแอตแลนติกกว้างยิ่งขึ้น เราเรียกการเคลื่อนไหวดังกล่าวว่า ทวีปเลื่อน” (Continental Drift)
ทฤษฎีเลื่อนนี้เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในปี ค.ศ.1960 จากทฤษฎีดังกล่าว กล่าวถึงการที่ทวีปอเมริกาเหนือและทวีปอเมริกาใต้รวมเป็นแผ่นเดียวกันเรียกว่า แผ่นอเมริกาและมักพบว่าส่วนบริเวณที่เป็นขอบของแผ่นทวีป เช่น แผ่นทวีปแปซิฟิก จะพบแนวการเกิดภูเขาไฟและแผ่นดินไหวอยู่เสมอ เนื่องจากการเคลื่อนที่ของ แผ่นทวีป (plate) อยู่ตลอดเวลา สันนิษฐานว่าการเคลื่อนที่ของหินหลอมละลายและกระบวนการพาความร้อนภายในโลก เนื่องมาจากความแตกต่างของอุณหภูมิและความหนาแน่นทำให้เกิดการหมุนเวียน
โดยเมื่อ 200 ล้านปีก่อน ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ แอฟริกา อินเดีย ออสเตรเลีย เคยอยู่ชิดติดกับทวีปแอนตาร์กติกในบริเวณขั้วใต้ ซึ่งเป็นเขตหนาวเย็น โดยมีหลักฐานเป็นร่องรอยของธารน้ำแข็งในอดีต
ในขณะที่ตอนใต้ของทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย มีหลักฐานบ่งชี้ว่า เคยเป็นเขตร้อนแถบศูนย์สูตรมาก่อน เนื่องจากอุดมสมบูรณ์ด้วยถ่านหินและน้ำมัน ซึ่งเกิดจากการทับถมของพืชในอดีต ประกอบกับหลักฐานทางฟอสซิล แสดงให้เห็นว่า เมื่อครั้งก่อนแผ่นดินเหล่านี้เคยอยู่ชิดติดกัน พืชและสัตว์บางชนิดจึงแพร่ขยายพันธุ์บนดินแดนเหล่านี้ในอดีต
แผ่นเทคโทนิกยูเรเชีย และแผ่นเทคโทนิกออสเตรเลียมีรอยเชื่อมกันอยู่ที่บริเวณอินโดนีเซียไปจนถึงทะเลอันดามัน (เส้นสีเทา ) ซึ่งเกิดการเลื่อนเบียดกัน ณ บริเวณเส้นวงกลม ใต้ท้องทะเล จึงเกิดเหตุคลื่นยักษ์
แผ่นดินไหวเริ่มที่เกาะสุมาตรา เนื่องแผ่นเทคโทนิก 2 แผ่นคือแผ่นออสเตรเลียและยูเรเซียเคลื่อนจนทำให้เกิดการเบียดและมุดเข้าหากับอีกแผ่นที่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะสุมาตรา ทำให้เกิดคลื่นใต้น้ำขนาดใหญ่เข้าสู่ชายฝั่ง
แนวความคิดที่สนับสนุนทฤษฎีทวีปเลื่อน ได้แก่ ทฤษฎีการขยายตัวของพื้นทะเล (Sea Floor Spreading Theory) และยังมีหลักฐานสนับสนุนอื่นๆ อีก เช่น หลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์ที่พบบริเวณสองฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ได้แก่ ฝั่งทวีปอเมริกาใต้ และทวีปแอฟริกาใต้ มีลักษณะคล้ายกัน





                     spreading plate boundary, plate subduction, transform fault



spreading plate boundary=การเคลื่อนที่ของขอบแผ่นเปลือกโลกแบบกระจายตัว โดยแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นมีการเคลื่อนที่ออกจากกัน

plate subduction = ขอบแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนเข้าหากันแบบมุดตัว การที่แผ่นเปลือกโลกแผ่นหนึ่งมุดเข้าไปอยู่ใต้แผ่นเปลือกโลกอีกแผ่นหนึ่ง เป็นแรงบีบอัด (Compress Forces) มักเกิดจากแผ่นทวีปมหาสมุทรกับมหาสมุทร หรือมหาสมุทรกับแผ่นทวีปทำให้เกิดแนวร่องลึกบาดาล (Trench) ตามมา ซึ่งรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกมีหลายแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีเคลื่อนตัวที่แผ่นหนึ่งกระทำต่ออีกแผ่นหนึ่งซึ่งวิธีเคลื่อนตัวมีอยู่ 3 แบบ คือ
1.แบบกระจายตัว (spreading)
2.แบบมุดตัว (subduction)
3.แบบเปลี่ยนรูป (transform)
แผ่นดินไหวอาจเกิดมาจากภูเขาไฟระเบิด แต่แผ่นดินไหวส่วนใหญ่เกิดจากการเคลื่อนที่บริเวณรอยแตกของเปลือกโลก แผ่นดินไหวระดับที่มีความรุนแรงมากหรือที่ปล่อยพลังงานเท่ากับร้อยละ 80 ของพลังงานที่เกิดจากแผ่นดินไหวทั่วโลก มักจะเกิดขึ้นในบริเวณที่เกิดการมุดตัว ซึ่งพื้นผิวโลกใต้มหาสมุทรมีการเคลื่อนตัวมุดเข้าไปใต้พื้นแผ่นทวีปหรือใต้แผ่นท้องมหาสมุทรที่เพิ่งจะก่อตัวขึ้นมาใหม่

transform fault =รอยเลื่อน ซึ่งเป็นรอยเลื่อนขนาดใหญ่ มักเกิดขึ้นในบริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทร เช่น จากการศึกษาลักษณะทางภูมิศาสตร์ระยะใกล้ของแนวเทือกเขาที่มีการแยกตัวที่ Juan de Fuca นอกชายฝั่งแปซิฟิกด้านตะวันตกเฉียงเหนือ แสดงให้เห็นถึงขอบของศูนย์กลางที่เกิดการแยกตัวซึ่งปรากฏขึ้นมา ในขณะที่เปลือกโลกเคลื่อนที่ออกจากแนวเทือกเขาก็จะเย็นตัวและจมลง แนวเทือกเขาที่เหลื่อมกันด้านข้างเชื่อมต่อกันด้วยรอยเลื่อนแปลง (transform fault) แต่บางครั้งก็เกิดขึ้นบริเวณชายฝั่ง เช่น รอยเลื่อนแอนเดรียส์ ที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เกิดจากการเคลื่อนที่สวนกันของเพลตอเมริกาเหนือและเพลตแปซิฟิก

แผ่นเปลือกโลกทั้ง 16 แผ่นที่ประกอบกันเข้าเป็นเปลือกโลกนั้น มีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา บางทีก็เคลื่อนที่ผ่านกัน และเฉียดกันในทิศทางที่สวนกัน จนเกิดเป็นรอยเลื่อนด้านข้างขนาดใหญ่ (transform fault)ขึ้นได้ โดยอัตราการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแต่ละแผ่นนั้น นับว่าช้ามาก ๆ โดยเฉลี่ยแล้วเพียงแค่ 2.5 ซม. ต่อปี หรือเทียบง่าย ๆ ว่าพอ ๆ กับเล็บมือของเราที่งอกออกมาในแต่ละปี

                             การเกิดและลักษณะของ Island arcs และ ring of fire


Island arcs= หมู่เกาะรูปโค้ง เช่น ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์ เป็นบริเวณที่สามารถพบร่องลึกก้นสมุทรได้ นอกจากนี้สามารถพบร่องลึกก้นสมุทรได้ตามขอบทวีป โดยร่องลึกก้อนสมุทร (oceanic trench) มีลักษณะยาว แคบและลึกกว่าบริเวณที่ราบก้นสมุทร (abyssal plain)
เปลือกโลกภาคพื้นสมุทรชนกันเอง จะได้เกาะภูเขาไฟ(volcanic Island arcs) ซึ่งเป็นลักษณะหมุ่เกาะรูปโค้งอย่างหนึ่ง มีส่วนประกอบแบบandesitic และเกิดเนินชั้นตะกอนที่อยู่บนพื้นสมุทรนั่นแหละถูกโกยมารวมกันเกิดรอยแตก เกิดการคดโค้งเป็นภูเขาที่เป็นหินตะกอน หรืออาจเกิด hotspot จากใต้โลกดันเปลือกโลกภาคพื้นสมุทรขึ้นมาเกิดเป็นแนวภูเขาไฟ เช่นแนวภูเขาไฟที่ฮาวายไง
เมื่อแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นสมุทรเคลื่อนที่เข้าปะทะกัน แผ่นเปลือกโลกหนึ่งก็จะมุดตัวลงไปใต้แผ่นเปลือกโลกอีกแผ่นหนึ่ง เช่นเดียวกับที่เกิดแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นสมุทร-ภาคพื้นทวีป เคลื่อนตัวเข้าหากัน ดังที่ได้อธิบายไปแล้ว ส่วนที่ต่างกันนั้นอยู่ที่การสะสมตัวของแมกมาและการเกิดระเบิดของภูเขาไฟนั้น จะเกิดที่พื้นมหาสมุทร และถ้าเกิดภูเขาไฟระเบิดต่อๆกัน ในที่สุดก็สามารถทำให้เกิดเป็นเกาะใหม่ขึ้นมาในมหาสมุทร เกาะใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ประกอบด้วยเกาะภูเขาไฟ หลายๆเกาะเป็นแนวภูเขาไฟ ซึ่งเรียกว่า volcanic Island arcs เกาะภูเขาไฟเหล่านี้มักจะอยู่ห่างจากแกนของร่องลึก (trench axis) ประมาณ 200-300 กม.

The Ring of Fire ="วงแหวนแห่งไฟ" หมายถึง แนวภูเขาไฟที่ผุดขึ้นมาคู่กับร่องลึกเป็นแถบที่มีการเกิดแผ่นดินไหว และภูเขาไฟระเบิด ในบริเวณขอบมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเป็นแนวเพลตเทคโทนิก (Tectonic Plates) และเขตภูเขาไฟคุกรุ่น (ในโลกมีแผ่นเทคโทนิกทั้งสิ้น 12 แผ่น เป็นแนวที่จะเกิดการเคลื่อนไหว อันเกิดจากความร้อนภายในโลก ทั้งการขยายตัวและหดตัว รวมถึงการเคลื่อนไหวของแมกมาอย่างฉับพลัน)

จากการศึกษาพบว่ามากกว่าร้อยละ 75 ของภูเขาไฟบนโลก คือ ประมาณ 637 ลูก จาก 850 ลูก เป็นภูเขาไฟที่ยังมีพลังอยู่และอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า "วงแหวนของไฟ" (Ring of Fire) บริเวณตั้งแต่ทางตอนใต้ของประเทศซิลีขึ้นไปทางขอบตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ อเมริกาเหนือ ถึงรัฐอาลาสกา โค้งไปยังตะวันออกของเอเชีย จากไซบีเรีย ลงไปจนถึงนิวซีแลนด์ และที่เหลืออีกร้อยละ 20 คือ ภูเขาไฟในอินโดนีเซีย และภูเขาไฟในญี่ปุ่น หมู่เกาะอาลิวเชียน และอเมริกากลางเป็นเขตที่มีภูเขาไฟที่ยังมีพลังอยู่ทั้งหมด เรามักพบว่าภูเขาไฟมักอยู่ตามขอบของแผ่นทวีป ซึ่งขอบเขตของ วงแหวนของไฟนั้นเป็นบริเวณขอบทวีประหว่างแผ่นทวีปแปซิฟิก (Pacific Plates) กับแผ่นทวีปโดยรอบมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนภูเขาไฟที่ยังมีพลังอื่นๆ ได้แก่ เขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และเกาะไอซ์แลนด์ พบว่าอยู่บริเวณขอบแผ่นทวีปเช่นเดียวกัน



ที่มา : http://www.baanjomyut.com/library_2/extension2/continental_drift_theory/index.html

ประวัติศาสตร์จีนสมัยจักรวรรดิ์

          
ประวัติศาสตร์จีนสมัยจักรวรรดิ์

ประวัติศาสตร์จีน ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฉิน(จิ๋น) ถึงราชวงศ์ชิง มีลักษณะการปกครองใน รูปแบบนครรัฐที่เข้มแข็งมีอำนาจเหนือรัฐอื่นๆ มีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนอำนาจการปกครองจาก ราชวงศ์หนึ่งสู่อีกราชวงศ์หนึ่ง มีเหตุการณ์ต่างๆที่น่าสนใจเกิดขึ้นทั้งความรุ่งเรืองและเสื่อมถอย ซึ่ง เป็นพัฒนาการของอารยธรรมจีน ในยุคที่เรียกว่า สมัยจักรวรรดิ์
ช่วงเวลา 476 ถึง 221 ปีก่อนค.ศ. นักประวัติศาสตร์เรียกว่า ยุคจ้านกว๋อหรือเลียดก๊ก เป็นยุคแห่งความแตกแยก แคว้นต่าง ๆ ทำสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่ มีรัฐใหญ่ 7 รัฐ คือ รัฐฉี รัฐฉู่ รัฐเยียน รัฐเจ้า รัฐหาน รัฐเว่ย รัฐฉิน ในที่สุดอิ๋งเจิ้งแห่งรัฐฉินมีชัยชนะ

ราชวงศ์ฉิน หรือจิ๋น (221 – 206 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

อิ๋งเจิ้ง สถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าฉิน หรือหวงตี้ (ฮ่องเต้) แห่งราชวงศ์ฉิน และบังคับให้ประชาชนเรียกตนเองว่า ชาวฉินหรือจิ๋น ซึ่งเป็นที่มาของคำว่าชาวจีน สมัยนี้มีการปฏิรูประบบตัวอักษรระบบชั่ง ตวง วัด กำหนดให้มีเพลารถ ล้อรถขนาดเดียวกันทั้งอาณาจักร แบ่งการปกครองเป็นจังหวัด อำเภอ มีการรวมอำนาจสู่ส่วนกลางที่เมืองหลวง เป็นรัฐที่ปกครองด้วยระบบรัฐทหาร ไม่เห็นด้วยกับแนวทางของลัทธิขงจื้อ นักประวัติศาสตร์พบว่ามีการสั่งเผาตำราและประหารบัณฑิตของสำนักขงจื้อ ด้วยการเผาหรือฝังทั้งเป็น มีการก่อสร้างกำแพงเมืองจีน ถนน ขุดคลอง มหาสุสาน ด้วยการเกณฑ์แรงงานชาวจีน หลังจากพระเจ้าฉิน หรือฉินสือหวงตี้ป่วยหนักและสิ้นพระชนม์ โอรสชื่อ ฝูโซว เป็นผู้สืบราชบัลลังก์ แต่ถูกหูไห้ โอรสอีกองค์หนึ่งร่วมมือกับขันที และอัครเสนาบดีแย่งอำนาจตั้งเป็นกษัตริย์นามว่า ฉินเอ้อซื่อ (พระเจ้าฉินที่สอง) พระองค์เป็นฮ่องเต้ที่โหดเหี้ยม และไร้ความสามารถ ชาวจีนที่ไม่พอใจเริ่มก่อกบฏหลายกลุ่ม กบฏกลุ่มของหลิวปังสามารถรวบรวมกบฎกลุ่มอื่น ยึดอำนาจจากราชวงศ์ฉินได้สำเร็จ และสถาปนาราชวงศ์ฮั่น
ราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อนคริสต์ศักราชถึง ค.ศ.220)

หลิวปัง สถาปนาเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของราชวงศ์ฮั่น นามว่า ฮั่นเกาจู มีเมืองหลวงอยู่ที่เมือง - ฉางอาน ในยุคของฮั่นเกาจู เป็นยุคฟื้นฟูบ้านเมือง ส่งเสริมการเกษตร และเก็บภาษีเพียง 1 ใน 30 ส่วน ต่อมาในสมัยของกษัตริย์ (ฮ่องเต้) องค์ที่ 5 คือ พระเจ้าฮั่นอู่ตี้ มีการบุกเบิกเส้นทางสายไหม (Silk Road) ค้าขายกับอาณาจักรที่อยู่ทางตะวันตกของจีน เช่น อินเดีย อาหรับ โรมัน ในสมัยนี้มีนักประวัติศาสตร์คนสำคัญของจีนชื่อ ซือหม่าเซียนซึ่งเขียนหนังสือประวัติศาสตร์ชื่อว่า สื่อจี้มีการฟื้นฟูลัทธิขงจื้อ ใช้เป็นหลักในการปกครอง มีการสอบคัดเลือกคนเข้ารับราชการเรียกว่า สอบจอหงวน นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงเวลานี้ว่า ฮั่นตะวันตก” (206 ปีก่อนค.ศ. ค.ศ.9)
 ความอ่อนแอของราชสำนักในช่วงกลางราชวงศ์ฮั่น มีเสนาบดีชื่อ หวางมั่ง ชิงบัลลังก์ตั้ง ราชวงศ์ซิน” (ค.ศ.9 – ค.ศ.23) ขึ้นมาระยะหนึ่งแต่ไม่มีผู้สืบทอดอำนาจ และถูกหลิวซิ่ว เชื้อพระวงศ์ฮั่นยึดอำนาจกลับคืนตั้งราชวงศ์ฮั่นขึ้นใหม่ ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองลั่วหยาง สถาปนาตนเป็นกษัตริย์ชื่อ ฮั่นกวงอู่ตี้ นักประวัติศาสตร์เรียกสมัยนี้ว่า ราชวงศ์ ฮั่นตะวันออก” (ค.ศ.23 – ค.ศ.220) แต่ตอนปลายราชวงศ์กษัตริย์อ่อนแอมาก ในปีค.ศ. 184 เกิดกบฏโจรโพกผ้าเหลือง แต่หลิวเป้ย จาเฟย และกวนตี่ ร่วมกันปราบกบฏได้สำเร็จ แต่ขณะเดียวกันในราชสำนักเกิดการแย่งชิงอำนาจระหว่างกลุ่มของฮองเฮา ขันที และเสนาบดี ทำให้จีนก้าวเข้าสู่ยุคขุนศึก มีอาณาจักรสามแห่งแย่งชิงอำนาจกัน เรียกว่า ยุคสามก๊ก และที่เป็นมาของวรรณกรรมเรื่อง สามก๊ก

ยุคสามก๊ก (ค.ศ.220 – ค.ศ.280)
เป็นยุคที่แผ่นดินจีนแบ่งออกเป็น 3 แคว้น(ก๊ก) แคว้นทางเหนือมีเฉาเชา (โจโฉ) ผู้สถาปนาแคว้นเว่ย หลิวเป้ย(เล่าปี่) ตั้งราชวงศ์ชู่ฮั่นอยู่ทางตะวันตก และซุนเฉวียน (ซุนกวน) ตั้งราชวงศ์วู อยู่ทางตอนใต้ ค.ศ.263 แคว้นชู่ฮั่นของเล่าปี่ล่มสลาย ค.ศ.265 แคว้นเว่ยของโจโฉ ถูกเสนาบดีชื่อ ซือหม่าเอี๋ยน ยึดอำนาจและก่อตั้งราชวงศ์จิ้นครองราชย์ในนามราชวงศ์จิ้น สำหรับแคว้นวู (อู๋) ในสมัยฮ่องเต้ซุนเฮ่า ทำตัวเป็นทรราช ราชวงศ์จิ้นจึงยกกองทัพมาทำสงคราม ซุ่นเฮ่ายอมแพ้ แคว้นวูจึงล่มสลายไป
ราชวงศ์จิ้น (ค.ศ.265 – ค.ศ.420)

ซือมาเอี๋ยน สถาปนาตนเองเป็นจิ้นอู่ตี้ ตั้งราชวงศ์จิ้น ในค.ศ.265 รวมแผ่นดินจีนเป็นปึกแผ่น นักประวัติศาสตร์เรียกว่า ราชวงศ์จิ้นตะวันตก (ค.ศ.265 – ค.ศ.317) ฮ่องเต้องค์ต่อมามีความอ่อนแอ มีความฟุ้งเฟ้อ ความขัดแย้งภายในราชสำนัก เกิดกบฏในราชสำนัก กบฏชาวนา และถูกโจมตีจากชนกลุ่มน้อยเผ่าซงหนู และจับตัวฮ่องเต้องค์ที่ 4 (ซือ หม่าเยี่ย)
ค.ศ.317 ซือหม่าวุ่ย ครองราชย์ต่อและย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองเจี้ยนคัง แต่ไม่ได้รวมอาณาจักรให้เป็นปึกแผ่น นักประวัติศาสตร์เรียกว่า ราชวงศ์จิ้นตะวันออก (ค.ศ.317 – ค.ศ.420) การปกครองสมัยนี้อ่อนแอจึงถูกกลุ่มที่เคยให้การสนับสนุนเข้ายึดอำนาจ และเกิดอาณาจักรเล็ก ๆ ของชนกลุ่มน้อยกระจายอยู่ทางตอนเหนือและทางตอนใต้ของจีน
ยุคราชวงศ์เหนือใต้ (ค.ศ.420 – ค.ศ.581)
ในยุคนี้ทางตอนเหนือของจีนมีชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่มตั้งเป็นอาณาจักรต่าง ๆ เช่น เว่ยเหนือ เว่ยตะวันออก ฉีเหนือ เว่ยตะวันตก โจวเหนือ ทางตอนใต้ของจีนมีอาณาจักรต่าง ๆ เช่น จิ้น ซ่ง ฉี เหลียง เฉิน ยุคนี้มีพระโพธิธรรม (ตั๊กม้อ) จาริกจากอินเดียมาเผยแพร่พุทธศาสนานิกายสุขาวดี (ฌาน หรือเซ็น)
ราชวงศ์สุย (ค.ศ.581ค.ศ.618)

หยางเจียน ซึ่งเคยเป็นเสนาบดีของราชวงศ์โจวเหนือ รวบรวมอาณาจักรต่าง ๆ เป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จ สถาปนาเป็นพระเจ้าสุยเหวินตี้ ปกครองจีนต่อมา หลังจากสิ้นพระชนม์ โอรสชื่อ หยางกว่าง ขึ้นครองราชย์ ชื่อพระเจ้าสุยหยางตี้ ปกครองบ้านเมืองด้วยความเหี้ยมโหด ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เกณฑ์แรงงานชาวจีนก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ และขุดคลองยาวประมาณสองพันกิโลเมตรเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซี เพื่อใช้ประโยชน์ด้านคมนาคม ประชาชนจึงก่อกบฏ และลูกพี่ลูกน้องของสุยหยางตี้ ชื่อ หลี่หยวน ก็ก่อกบฏด้วย พระเจ้าสุยหยางตี้ถูกปลงพระชนม์ จากนั้นหลี่หยวนปราบกบฏกลุ่มต่าง ๆ ได้สำเร็จและตั้งราชวงศ์ถังขึ้น

ราชวงศ์ถัง (ค.ศ.618ค.ศ.906)

หลี่หยวน สถาปนาตนเองเป็น ถังเกาจูฮ่องเต้รวบรวมอาณาจักรเป็นปึกแผ่น แต่ในสมัยของพระองค์มีการแย่งชิงตำแหน่งรัชทายาท ระหว่างโอรสหลี่เจี้ยนเฉิง หลี่ซื่อหมิน และหลี่หยวนจี๋ ซึ่ง - หลี่ซื่อหมิน สามารถสังหารพี่น้องทั้งสององค์ และให้ถังเกาจูตั้งเป็นรัชทายาท พระเจ้าถังเกาจูสละราชบัลลังก์ ตั้งตนเป็นสมเด็จพระราชบิดา (ไท่ซ่างหวาง) หลี่ซื่อหมินขึ้นครองราชย์เป็น ถังไท่จงฮ่องเต้และแต่งตั้งให้คนสนิทของหลี่เจี้ยนเฉิง ชื่อเว่ยเจิง เป็นที่ปรึกษา และพระองค์ให้ความนับถืออย่างมาก
ในยุคถังไท่จงฮ่องเต้ แผ่นดินจีนรุ่งเรืองมากทั้งด้านเศรษฐกิจการค้า ศิลปวัฒนธรรม การก่อสร้าง การทหาร มีการติดต่อกับต่างชาติเช่น ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ การปรับปรุงกำแพงเมืองจีน ใช้วิธีการจ้าง ขยายอาณาเขตกว้างใหญ่มากขึ้น มีเมืองหลวงคือเมืองฉางอาน (ซีอานในปัจจุบัน) ในยุคนี้มีพระเสวียนจั้ง (ถังซำจั๋ง) จาริกไปศึกษาและอัญเชิญพระไตรปิฎกพุทธศาสนา (มหายาน) จากวัดนาลันทา ประเทศอินเดีย นำมาเผยแพร่ (เป็นที่มาของตำนานไซอิ๋ว)
หลังจากพระเจ้าถังไท่จงสิ้นพระชนม์ รัชทายาทชื่อหลี่จื้อ เป็นผู้ครองราชย์ต่อมานามว่า ถังเกาจงฮ่องเต้พระองค์ได้นางอิเหม่ยเหนียง อดีตสนมของพระบิดามาเป็นสนมเอก ซึ่งสนมเอกคนนี้ใส่ความมเหสีจนมเหสีถูกถอดบรรดาศักดิ์ลงเป็นไพร่ แล้วถังเกาจงแต่งตั้งสนมเอกเป็นมเหสีแทน และพระนางแทรกแซงการบริหารบ้านเมืองของ ถังเกาจงโดยตลอด กระทั่งพระเจ้าถังเกาจงสิ้นพระชนม์ พระนางได้เปลี่ยนชื่อราชวงศ์ถังเป็นราชวงศ์โจว แล้วตั้งตนเป็น อู่เจ๋อเทียน” (บูเช็คเทียน) พระนางกำจัดศัตรูทางการเมืองและปกครองราชวงศ์โจวกระทั่งเสียชีวิตด้วยวัยชรา
จากนั้น หลี่หลงจี๋ ครองราชย์เป็นถังเสวียนจงฮ่องเต้ ปกครองบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองกว่ายุคของถังไท่จงฮ่องเต้ ยุคสมัยนี้มีกวีสำคัญคือ หลี่ไป๋ และตู้ฝู้ ปลายสมัยของพระเจ้าถังเสวียนจง มีการกบฏ หลังจากนั้นราชวงศ์ถังก็อ่อนแอลง ทำให้ขันทีมีอำนาจมากขึ้น มีกบฏหลายครั้ง แม่ทัพชื่อจูเวิน สังหารขันที และปลงพระชนม์ฮ่องเต้องค์สุดท้ายของราชวงศ์ คือ ถังอ้ายจงฮ่องเต้ และตั้งราชวงศ์เหลียงขึ้นมา อย่างไรก็ตามนักประวัติศาสตร์เรียกสมัยราชวงศ์ถังว่าเป็น ยุคทองของศิลปวัฒนธรรมจีน

ราชวงศ์ถัง (ค.ศ.618ค.ศ.906)

หลี่หยวน สถาปนาตนเองเป็น ถังเกาจูฮ่องเต้รวบรวมอาณาจักรเป็นปึกแผ่น แต่ในสมัยของพระองค์มีการแย่งชิงตำแหน่งรัชทายาท ระหว่างโอรสหลี่เจี้ยนเฉิง หลี่ซื่อหมิน และหลี่หยวนจี๋ ซึ่ง - หลี่ซื่อหมิน สามารถสังหารพี่น้องทั้งสององค์ และให้ถังเกาจูตั้งเป็นรัชทายาท พระเจ้าถังเกาจูสละราชบัลลังก์ ตั้งตนเป็นสมเด็จพระราชบิดา (ไท่ซ่างหวาง) หลี่ซื่อหมินขึ้นครองราชย์เป็น ถังไท่จงฮ่องเต้และแต่งตั้งให้คนสนิทของหลี่เจี้ยนเฉิง ชื่อเว่ยเจิง เป็นที่ปรึกษา และพระองค์ให้ความนับถืออย่างมาก
ในยุคถังไท่จงฮ่องเต้ แผ่นดินจีนรุ่งเรืองมากทั้งด้านเศรษฐกิจการค้า ศิลปวัฒนธรรม การก่อสร้าง การทหาร มีการติดต่อกับต่างชาติเช่น ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ การปรับปรุงกำแพงเมืองจีน ใช้วิธีการจ้าง ขยายอาณาเขตกว้างใหญ่มากขึ้น มีเมืองหลวงคือเมืองฉางอาน (ซีอานในปัจจุบัน) ในยุคนี้มีพระเสวียนจั้ง (ถังซำจั๋ง) จาริกไปศึกษาและอัญเชิญพระไตรปิฎกพุทธศาสนา (มหายาน) จากวัดนาลันทา ประเทศอินเดีย นำมาเผยแพร่ (เป็นที่มาของตำนานไซอิ๋ว)
หลังจากพระเจ้าถังไท่จงสิ้นพระชนม์ รัชทายาทชื่อหลี่จื้อ เป็นผู้ครองราชย์ต่อมานามว่า ถังเกาจงฮ่องเต้พระองค์ได้นางอิเหม่ยเหนียง อดีตสนมของพระบิดามาเป็นสนมเอก ซึ่งสนมเอกคนนี้ใส่ความมเหสีจนมเหสีถูกถอดบรรดาศักดิ์ลงเป็นไพร่ แล้วถังเกาจงแต่งตั้งสนมเอกเป็นมเหสีแทน และพระนางแทรกแซงการบริหารบ้านเมืองของ ถังเกาจงโดยตลอด กระทั่งพระเจ้าถังเกาจงสิ้นพระชนม์ พระนางได้เปลี่ยนชื่อราชวงศ์ถังเป็นราชวงศ์โจว แล้วตั้งตนเป็น อู่เจ๋อเทียน” (บูเช็คเทียน) พระนางกำจัดศัตรูทางการเมืองและปกครองราชวงศ์โจวกระทั่งเสียชีวิตด้วยวัยชรา
จากนั้น หลี่หลงจี๋ ครองราชย์เป็นถังเสวียนจงฮ่องเต้ ปกครองบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองกว่ายุคของถังไท่จงฮ่องเต้ ยุคสมัยนี้มีกวีสำคัญคือ หลี่ไป๋ และตู้ฝู้ ปลายสมัยของพระเจ้าถังเสวียนจง มีการกบฏ หลังจากนั้นราชวงศ์ถังก็อ่อนแอลง ทำให้ขันทีมีอำนาจมากขึ้น มีกบฏหลายครั้ง แม่ทัพชื่อจูเวิน สังหารขันที และปลงพระชนม์ฮ่องเต้องค์สุดท้ายของราชวงศ์ คือ ถังอ้ายจงฮ่องเต้ และตั้งราชวงศ์เหลียงขึ้นมา อย่างไรก็ตามนักประวัติศาสตร์เรียกสมัยราชวงศ์ถังว่าเป็น ยุคทองของศิลปวัฒนธรรมจีน

ยุคห้าราชวงศ์ (ค.ศ.907ค.ศ.960)

ในยุคนี้มีราชวงศ์ต่าง ๆ ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นมามีอำนาจเป็นระยะเวลาสั้น ๆ รวม 5 ราชวงศ์ ได้แก่ เหลียง ถัง จิ้น ฮั่น โจว ปกครองอยู่บริเวณลุ่มน้ำฮวงโห และยังมีแคว้นเล็ก ๆ อีก 10 แคว้น แบ่งแยกกันปกครองอยู่บริเวณลุ่มน้ำแยงซีเกียง ชีวิตของชาวจีนยุคสมัยนี้เต็มไปด้วยความยากลำบาก จากภัยสงครามและภัย -ธรรมชาติ ต่อมาแม่ทัพของราชวงศ์โจว ชื่อ เจ้าควงอิ้น ชิงอำนาจจากราชวงศ์โจว สถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าซ่งไท่จู่แห่งราชวงศ์ซ่ง (ซ้อง) และรวบรวมแผ่นดินจีนเป็นปึกแผ่นได้สำเร็จ

ราชวงศ์ซ่ง (ซ้อง) (ค.ศ.960ค.ศ.1279)

พระเจ้าซ่งไท่จู่ รวบรวมจีนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองไคฟง (มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก มีความเจริญรุ่งเรืองด้านศิลปวัฒนธรรม มีการจัดระเบียบขันที ทำให้ลดปัญหาจากกลุ่มขันทีลงไป มีความก้าวหน้าในการเดินเรือสำเภา รู้จักการใช้เข็มทิศ มีการประดิษฐ์ลูกคิด แท่นพิมพ์หนังสือ มีการรักษาโรคด้วยการฝังเข็ม นักประวัติศาสตร์เรียกยุคแรกของราชวงศ์ว่า ยุคซ่งเหนือกษัตริย์ที่ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าซ่งไท่จู่ เป็นต้นมาเป็นระยะเวลาที่ราชวงศ์อ่อนแอ และมี เปาเจิ้ง (เปาบุ้นจิ้น) เป็นขุนนางในยุคนี้
จีนถูกรุกรานโดยชนเผ่าซีเซี่ย (บริเวณทิเบต) และพวกซีตาน (เมืองเหลียว) ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยทางตอนเหนือ จนต้องยอมทำสัญญาสงบศึก ต้องส่งเครื่องบรรณาการให้ ต่อมามีชนเผ่าจินบุกเข้าเมืองหลวง - (ค.ศ.1127) จับฮ่องเต้เป็นเชลยถึง 2 พระองค์ ต่อมามีเชื้อพระวงศ์คนหนึ่งชื่อ เจ้าโก้วตั้งตนเป็นกษัตริย์ชื่อ ซ่งเกาจงฮ่องเต้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองหลินอาน (หางโจว) นักประวัติศาสตร์เรียกยุคนี้ว่า ยุคซ่งใต้แต่ยังถูกเผ่าจินเข้ารุกรานตลอดเวลา
ราชวงศ์ซ่งจึงร่วมมือกับพวกมองโกล เข้าปราบปรามเผ่าจิน เผ่าซี่เซี่ย และเผ่าซีตาน แต่หลังจากนั้น กองทัพมองโกลกลับหันเข้ามาตีจีนถึงกรุงปักกิ่ง หลังจากผู้นำมองโกล (เจงกิสข่าน) เสียชีวิต หลานปู่ชื่อ ฮูปิเล่ เป็นข่านคนต่อมาชื่อว่า กุบไล่ข่านยกกองทัพมองโกลเข้ายึดครองราชวงศ์ซ่งใต้ ด้วยความร่วมมือของขุนนางและทหารบางกลุ่มของราชวงศ์ซ่งใต้ กุบไล่ข่านจึงสถาปนาราชวงศ์หยวน ปกครองจีนต่อมา

ราชวงศ์หยวน (ค.ศ.1280ค.ศ.1368)

กุ๊บไลข่าน ปกครองแผ่นดินจีนมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองต้าตู (ปักกิ่ง) ปกครองจีนด้วย ความสุขุมรอบคอบ เอาใจใส่ประชาชน จึงเป็นฮ่องเต้ที่ชาวจีนยอมรับนับถือ พระองค์ขยายอาณาเขตไปยังดินแดนอันนัม (เวียดนาม) ยกกองทัพเรือไปโจมตีญี่ปุ่น แต่เรือถูกมรสุมจึงครอบครองญี่ปุ่นไม่สำเร็จ พระองค์มีความสนใจด้านอักษรศาสตร์ และวรรณกรรม มีการพิมพ์ธนบัตรใช้ มีการประดิษฐ์ปืนใหญ่ ใช้ในการรบ มีการติดต่อกับต่างประเทศ มีพ่อค้าตะวันตกเข้ามาค้าขายและติดต่อกับราชสำนัก คือมาร์โคโปโล พ่อค้าชาวเวนิส อิตาลี
หลังจากกุ๊บไลข่าน สิ้นพระชนม์ ฮ่องเต้ชาวมองโกลองค์ต่อ ๆ มา ปกคองด้วยการกดขี่ชาวจีน มีการแย่งชิงอำนาจในราชวงศ์ จึงเกิดกบฏขึ้นทั่วไป ช่วงปลายราชวงศ์มีผู้นำกบฏชื่อ จูหยวนจางปราบปรามกบฏกลุ่มต่าง ๆและเข้ายึดกรุงปักกิ่งโค่นล้มราชวงศ์หยวนได้สำเร็จ สถาปนาราชวงศ์หมิง ปกครองจีนต่อมา

ราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1368ค.ศ.1644)

จูหยวนจาง สถาปนาเป็น หมิงไท่จู่ฮ่องเต้ฟื้นฟูเศรษฐกิจ พัฒนาศิลปวัฒนธรรมจีนเป็นอย่างดี และปกครองราษฎรด้วยความผ่อนปรน แต่ในทางการเมืองการปกครองพระองค์ใช้ความเด็ดขาด ปราบปรามผู้ต่อต้าน และผู้รังแกราษฎรอย่างเข้มงวด
พระองค์มีรัชทายาทชื่อ จูเปียว แต่สิ้นพระชนม์ จึงแต่งตั้งลูกของรัชทายาทจูเปียว เป็นรัชทายาท ทำให้โอรสองค์อื่น ๆ ไม่พอใจ หลังจากพระเจ้าหมิงไท่จู่สิ้นพระชนม์รัชทายาทได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์ชื่อ เจี้ยน เหวิน ฮ่องเต้ต่อมาโอรสองค์ที่ 4 ของพระเจ้าหมิงไท่จู่ ชื่อเจ้าเอี้ยนหวาง ผู้เป็นอาของพระเจ้าเจี้ยนเหวิน ก่อกบฏยึดเมืองหนานจิงซึ่งเป็นเมืองหลวง และพระเจ้าเจี้ยน เหวิน สูญหายไป
เจ้าเอี้ยงหวาง ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ชื่อ หย่งเล่อฮ่องเต้พระองค์ได้สร้างพระราชวังปักกิ่ง (พระราชวังต้องห้าม) ค้าขายกับต่างประเทศ และให้ขันทีคนสนิทชื่อเจิ้งเหอ เดินทางด้วยกองเรือของจีนไปยังดินแดนต่าง ๆ ถึง 7 ครั้ง
หลังจากสมัยของพระเจ้าหย่ง เล่อฮ่องเต้ กลุ่มขันทีในราชวงศ์หมิงเข้ามามีบทบาทในการเมือง การปกครองหลายสมัย สมัยกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ชื่อ ฉงเจินฮ่องเต้ บ้านเมืองวุ่นวาย มีภัยพิบัติข้าราชการฉ้อราษฎร์บังหลวง มีชนเผ่าแมนจู จากทางตะวันออกเฉียงเหนือเข้ารุกราน และยึดครองกรุงปักกิ่งได้ด้วยความช่วยเหลือของผู้บัญชาการทหารของราชวงศ์หมิงชื่อ อู่ซานกุ้ย ชนเผ่าแมนจูจึงสถาปนาราชวงศ์ชิง ปกครองแผ่นดินจีนได้สำเร็จ 

ราชวงศ์ชิง (ค.ศ.1644ค.ศ.1911)

กษัตริย์ของราชวงศ์ชิง ได้แก่ ซุ่นจื้อฮ่องเต้ซึ่งมีพระชนมายุยังน้อย มีผู้สำเร็จราชการชื่อ ตั้วเออร์กุน พยายามทำตัวมีบทบาทเหนือพระเจ้าซุ่นจื้อ แต่เสียชีวิตในเวลาต่อมา
พระเจ้าซุ่นจื้อ บริหารบ้านเมืองอย่างเป็นธรรม ให้ความสำคัญกับชาวจีน ยกย่องศิลปวัฒนธรรมชองจีน ในด้านการทหารราชวงศ์ชิงจัดให้มีการบังคับบัญชาด้วยระบบกองธงต่าง ๆ พระองค์สิ้นพระชนม์ด้วยไข้ทรพิษ โอรสของพระองค์ขึ้นครองราชย์ต่อมามีพระนามว่า คังซี
พระเจ้าคังซี เป็นฮ่องเต้ขณะมีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา ทำให้พระนางเสี้ยวจองฮองเฮา เป็นผู้คอยดูแลว่าราชการแทน พอเติบโตขึ้นพระองค์สร้างความเจริญให้แก่จีนอย่างมาก เช่นแก้ไขปัญหาชนชั้นกับชาวจีน จัดทำแผนที่ จัดทำหนังสือวิทยาการต่างๆ และทำสงครามกับรัสเซียจนได้ชัยชนะ
ราชวงศ์ชิงตั้งแต่สมัยของ เต้ากวงฮ่องเต้เป็นต้นมา ประสบกับปัญหาการค้าขายกับชาติตะวันตก แพ้สงครามฝิ่นให้แก่ประเทศอังกฤษ เกิดกบฏไท่ผิง และต้องยอมทำสัญญาเสียเปรียบกับชาติตะวันตกและญี่ปุ่น ซึ่งเข้ามาแสวงหาประโยชน์จากจีนอย่างเต็มที่ จีนจึงรับมือจากภัยชาติตะวันตกโดยการเลียนแบบตะวันตก โดยการส่งคนไปศึกษาต่างประเทศ เป็นต้น
ในสมัยของ เสียนฟงฮ่องเต้ซึ่งเป็นกษัตริย์ต่อจากพระเจ้าเต้ากวง มีมเหสีฝ่ายซ้ายชื่อ ฉือซีไท่โฮ่ว” (ซูสีไทเฮา) เข้ามามีบทบาทในราชสำนัก และหลังจากพระเจ้าเสียนฟงสิ้นพระชนม์ มเหสีฝ่ายซ้ายได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทน ถ่งจื้อฮ่องเต้ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าเสียนฟง และครองราชย์ตั้งแต่อายุยังน้อย ต่อมาได้สิ้นพระชนม์ด้วยไข้ทรพิษ
พระนางฉือซีไท่โฮ่ว จึงตั้งพระนัดดาเป็นฮ่องเต้องค์ต่อมาชื่อ กวงสูฮ่องเต้พระเจ้ากวงสูพยายามปฏิรูปประเทศจีนในด้านต่าง ๆ แก้ไขกฎหมายสำคัญๆ ตั้งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง แต่การปฏิรูปต่าง ๆ ทำได้เพียงร้อยกว่าวันก็ล้มเหลว (เรียกว่าปฏิรูป 100 วัน) ปีค.ศ.1900 เกิดกบฏนักมวยต่อต้านชาติตะวันตกและญี่ปุ่น แต่ถูกต่างชาติรวมตัวกันปราบกบฏได้สำเร็จ ในปีค.ศ.1908 พระเจ้ากวงสู ถูกวางยาพิษสิ้นพระชนม์
พระนางฉือซีไท่โฮ่ว จึงแต่งตั้งเชื้อพระวงศ์อายุเพียง 3 ขวบ ชื่อ อ้ายซินเจวี๋ยหลัวผู่อี้เป็นฮ่องเต้หุ่นเชิดของพระนาง และเป็นฮ่องเต้องค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิงและของประเทศจีน เมื่อประเทศจีนถูกปฏิวัติเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐ




ที่มา: http://www.baanjomyut.com/library_3/extensio4/chinese_history_of_modern_empires/12.html

ธรณีวิทยาของแผ่นเปลือกโลก

ธรณีวิทยาของแผ่นเปลือกโลก


  ผิวโลกบริเวณต่างๆ มีลักษณะต่างกันบางแห่งเป็นที่ราบ บางแห่งเป็นภูเขา บางแห่งเป็นหุบเหว และบางแห่งเป็นทะเลหรือมหาสมุทร นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่ออัลเฟรด เวเจเนอร์ ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับเปลือกโลกว่า เมื่ออดีตประมาณ 225 ล้านปี ผิวโลกส่วนที่เป็นแผ่นดินที่ยื่นขึ้นมาจากผิวน้ำมีเพียงทวีปเดียว เป็นทวีปที่ใหญ่มาก เขาได้ตั้งชื่อทวีปนี้ว่า แพงเจีย (Pangaea)

เมื่อ 200 - 135 ล้านปีที่แล้ว แยกออกเป็น 2 ทวีปใหญ่ คือ ลอเรเชีย ทางตอนเหนือ และกอนด์วานาทางตอนใต้ และเมื่อ 135 - 65 ล้านปีที่แล้ว ลอเรเชียเริ่มแยกเป็นอเมริกาเหนือ และแผ่นยูเรเชีย ส่วนกอนด์วานาจะแยกเป็น อเมริกาใต้ แอฟริกา ออสเตรเลีย แอนตาร์กติก และอินเดีย

นักธรณีวิทยาแบ่งแผ่นธรณีภาคของโลกออกเป็น 2 ประเภท คือ แผ่นทวีปและแผ่นมหาสมุทรทั้ง 2 ประเภทรวมกันมี 13 แผ่น (กระทรวงศึกษาธิการ, 2546: 50)

-แผ่นทวีป เช่น แผ่นยูเรเชีย อินเดีย อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ อแฟริกา อาระเบีย
-แผ่นมหาสมุทร เช่น แผ่นแปซิฟิก แอนตาร์กติก คาริบเบีย คอคอส นาสกา

จากข้อมูลในปัจจุบันจะเห็นว่า ทวีปต่างๆ อยู่กระจายไปตามส่วนต่างๆ ของโลกโดยมีมหาสมุทรและทะเล คั่นอยู่ระหว่างทวีปเหล่านั้น และข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า ในเวลาต่อๆ มาพบว่าทวีปหรือแผ่นเปลือกโลกทั้งหลายมิได้อยู่กับที่ แต่จะมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา

การศึกษาของนักธรณีวิทยาพบว่า สิ่งต่างๆ ที่ประกอบกันเป็นเปลือกโลกนั้น มิได้อยู่รวมติดกันเป็นแผ่นเดียวโดยตลอด แต่จะมีรอยแยกอยู่ทั่วไป ซึ่งรอยแยกเหล่านี้ส่วนใหญ่จะอยู่ลึกลงไปจากผิวโลก จึงทำให้สามารถแบ่งเปลือกโลกเป็นแผ่น ๆ เรียกว่า แผ่นเปลือกโลก นักธรณีวิทยาบ่งชี้ว่า มีแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ 6 แผ่นและแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กอีกหลายแผ่น

เปลือกโลกประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ 6 แผ่นดังนี้


1.แผ่นยูเรเซีย
เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปเอเซียและทวีปยุโรป และพื้นน้ำ บริเวณใกล้เคียง

2.แผ่นอเมริกา
เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปอเมริกาเหนือและอออเมริกาใต้ แล พื้นน้ำครึ่งซีกตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก

3.แผ่นแปซิฟิก
เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับมหาสมุทรแปซิฟิก

4.แผ่นออสเตรเลีย
เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปออสเตรเลียและประเทศอินเดีย และพื้นน้ำระหว่างประเทศออสเตรเลียกับประเทศจีน

5.แผ่นแอนตาร์กติก
เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอนตาร์กติก แและพื้นน้ำโดยรอบ

6.แผ่นแอฟริกา
เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอฟริกา และพื้นน้ำรอบๆ ทวีปแอฟริกา

เพลตเหล่านี้มีรูปทรงรับกันตามรอยต่อของเพลต รอยต่อของเพลตเหล่านี้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

 1.สันเขาในมหาสมุทร (oceanic ridges) เป็นรอยต่อที่เพลตเคลื่อนที่แยกกัน โดยมีหินละลายปะทุขึ้นมาตามรอยแยก ก่อเกิดเป็นเปลือกโลกรุ่นใหม่
2.รอยเลื่อนแปรสภาพ (transform faults) เป็นรอยต่อที่เพลตเคลื่อนที่เฉียดกัน
3.เขตมุดตัวของเปลือกโลก (subduction zones) เป็นรอยต่อที่เพลตเคลื่อนที่ปะทะกัน แล้วเพลตหนึ่งมุดตัวลงข้างใต้อีกเพลตหนึ่ง ทำให้เปลือกโลกส่วนที่มุดนั้น หายลงไปในชั้นแมนเทิล

ทั้งนี้ รอยต่อของเพลตที่ซับซ้อนที่สุด เป็นรอยต่อที่เพลตสามเพลตปะทะกัน เรียกว่า รอยต่อสามผสาน” (triple junction) รอยต่อลักษณะนี้อาจประกอบด้วยรอยต่อต่างๆ ทั้งสามประเภทผสมผสานกัน และแผ่นดินไหวส่วนใหญ่เกิดขึ้นตามแนวรอยต่อระหว่างเพลต แม้รอยต่อระหว่างเพลตมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทก็ตาม แต่เราแบ่งแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นตามแนวรอยต่อเหล่านี้ออกเป็น 4 ประเภท คือ

1..แผ่นดินไหวตื้น ที่เกิดขึ้นบริเวณสันเขาในมหาสมุทร
2.แผ่นดินไหวตื้น ที่เกิดขึ้นตามรอยเลื่อนแปรสภาพ เช่น รอยเลื่อนซานอันเดรียส ทางด้านตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ
3.แผ่นดินไหวตื้น แผ่นดินไหวลึกปานกลาง และแผ่นดินไหวลึก ที่เกิดขึ้นตามแนวมุดตัวของเปลือกโลก บริเวณแนวโค้งภูเขาไฟ
4.แผ่นดินไหวตื้น แผ่นดินไหวลึกปานกลาง และแผ่นดินไหวลึก ที่เกิดขึ้นตามแนวเทือกเขาสำคัญ ๆ เช่น เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาฮินดูกูฏ แนวแผ่นดินไหวนี้เริ่มจากบริเวณเมดิเตอเรเนียน จนเกือบถึงประเทศจีน
เมื่อ เพลตเทคโทนิกส์แยกออกจากกันตามแนวแกนของสันเขากลางมหาสมุทร ขณะที่เพลตแยกออกจากกัน มีรอยเลื่อนและการปะทุของลาวา ปรากฏขึ้นตรงรอยแยก ก่อให้เกิดภูเขาและผาชันตามแนวดังกล่าว บริเวณนี้เป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว แนวภูเขาไฟ แถบแม่เหล็กสลับขั้วในหิน 2 ด้านของรอยแยก มีการไหลถ่ายความร้อนปริมาณสูงกว่าบริเวณอื่นบนเปลือกโลกหลายเท่า และการยกตัวของภูมิประเทศ พบว่าภูเขาไฟกว่า 200 แห่ง เรียงรายอยู่ตามแนวยกตัวของพื้นทะเล ภูเขาไฟหลายแห่งยังมีพลัง การไหลถ่ายความร้อนมีปริมาณสูงมาก

นอกจากนี้ยังปรากฏรอยแยกขนาดใหญ่อันเกิดจากแรงดึงนี้ ตามแนวยกตัวบริเวณเกาะไอซ์แลนด์เป็นจำนวนมาก สามารถมองเห็นได้ชัดเจน เมื่อมีการเคลื่อนที่ขึ้นลงตรงรอยแยกเหล่านี้ ก่อให้เกิดสันเขาบล็อกรอยเลื่อน (fault block ridges) เรียงรายคล้ายขั้นบันไดยักษ์ไปตามร่องหุบเขา แม้ลาวามีการปะทุขึ้นมาในระยะเวลาอันสั้น แต่ปรากฏการณ์นี้ก็เกิดขึ้น บ่อยๆ ตลอดห้วงเวลาอันยาวนานที่ผ่านมา

ทวีปส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนเพลต ที่มีรอยต่อระหว่างเพลต อันเป็นศูนย์กลางการเคลื่อนที่อยู่ในมหาสมุทร รอยแยกของเพลตแอฟริกากับเพลตยูเรเชียทำให้เกิดทะเลแดง และรอยแยกของเพลตแปซิฟิกกับเพลตอเมริกาเหนือ ทำให้เกิดอ่าวแคลิฟอร์เนีย เป็นที่น่าประหลาดใจว่า ทั้งที่ทวีปเคลื่อนที่แยกกันไปเป็นเวลานานแล้ว กลับสามารถนำมาปะติดปะต่อกันตามแนวชายฝั่งทวีปได้อีก เหมือนเมื่อทวีปเพิ่งเริ่มเคลื่อนที่ครั้งแรก

การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก

เปลือกโลกแต่ละแผ่นมีขนาดใหญ่มาก แต่ละแผ่นเปลือกโลกก็สามารถเคลื่อนที่ได้ ซึ่งแนวคิดของนักวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เปลือกโลก เคลื่อนที่มีดังนี้

1. การเคลื่อนที่ของหินหนืด

หินหนืดที่มีอยู่ในชั้นแมนเทิลได้รับความร้อนจากแก่นโลกทำให้ อุณหภูมิและ ความดันสูงมาก หินหนืดมีขนาดมหึมาจึงเคลื่อนที่ไหลวนไปมาอย่างช้า ๆ การไหลวนของหินหนืดนี้จะดันแผ่นเปลือกโลกให้เคลื่อนที่ไปด้วย แต่หินหนืดในบริเวณต่างๆ ของโลกมีทิศทางการไหลวนที่แตกต่างกัน ทำให้เปลือกโลกแต่ละแผ่นอาจเคลื่อนที่ชนกัน

2. การแทรกตัวของหินหนืดตามรอยแยกของเปลือกโลก

การเคลื่อนที่ของหินหนืดเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ได้ ประกอบกับแผ่นเปลือกโลกที่อยู่ใต้มหาสมุทรมีความหนาน้อยกว่าแผ่นเปลือกโลก ที่เป็นทวีป หินหนืดในชั้นแมนเทิลจึงสามารถแทรกตัวขึ้นมาตามรอยแยกระหว่างแผ่นเปลือกโลก ที่อยู่ใต้มหาสมุทรได้ง่ายกว่าหินหนืดในชั้นแมนเทิล จึงทำหน้าที่เป็นตัวดันและพยุงให้แผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรเคลื่อนที่และขยายตัวออกจากกัน

ผลกระทบที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก

1.ทำให้เกิดภูเขา การเคลื่อนที่เข้าชนกันของแผ่นเปลือกโลกทำให้แผ่นเปลือกโลกบางส่วน โก่งตัวขึ้นกลายเป็นภูเขาสูง

2.ทำให้แผ่นเปลือกโลกบางส่วนหายไป การเคลื่อนที่ชนกันของแผ่นเปลือกโลก นอกจากจะทำให้แผ่นเปลือกโก่งตัวขึ้นแล้ว ยังทำให้แผ่นเปลือกโลก มุดตัวหายไปอยู่ใต้แผ่นเปลือกโลกอีกแผ่นหนึ่ง แผ่นเปลือกโลกที่มุดตัวลงในชั้นแมนเทิลนั้นจะได้รับความร้อน เกิดการหลอมตัวของหินเปลือกโลก

3.ทำให้เกิดแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวส่วนใหญ่จะเกิดตามขอบของแผ่นเปลือกโลก ซึ่งเป็นบริเวณที่แผ่นเปลือกโลกขนกัน และแยกออกจากกัน หรือแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ผ่านกัน

4.ทำให้เกิดภูเขาไฟ เกิดจากการแทรกตัวของหินหนืดขึ้นสู่ผิวโลก โดยมีแรงปะทุและแรงระเบิด


แผ่นธรณีภาคและการเคลื่อนที่


1. ขอบแผ่นธรณีภาคแยกออกจากกัน

เกิดจากการดันตัวของแมกมา ทำให้เกิดรอยแยก จนแมกมาถ่ายโอนความร้อนสู่เปลือกโลกได้ ทำให้อุณหภูมิและความดันลดลง ทำให้เปลือกโลกทรุดตัวกลายเป็นหุบเขาทรุดในระยะเวลาต่อมาเมื่อมีน้ำ ไหลมาสะสมเกิดเป็นทะเล และเกิดเป็นรอยแยกทำให้เกิดร่องลึก แมกมาจึงเคลื่อนตัวแทรกดันขึ้นมาอีก ทำให้แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรแยกจากไปทั้งสองด้านเกิด การขยายตัวของพื้นทะเล (Sea floor spreading) และทำให้เกิดเทือกเขากลางสมุทร เช่น บริเวณทะเลแดง อ่าวแคลิฟอร์เนีย แอฟริกาตะวันออก มีลักษณะหุบเขาทรุด มีร่องรอยแยก เกิดแผ่นดินไหวตื้นๆ มีภูเขาไฟและลาวาไหลอยู่ใต้มหาสมุทร

2. ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนเข้าหากัน มี 3 แบบ

-แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกันกับแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร แผ่นธรณีภาคอีกแผ่นหนึ่งจะมุดลงใต้อีกแผ่นหนึ่ง ปลายของแผ่นที่มุดลงจะหลอมกลายเป็นแมกมา และปะทุขึ้นมา บนแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร เกิดเป็นแนวภูเขาไฟใต้มหาสมุทร และมีร่องใต้ทะเลลึก มีแนวการเกิดแผ่นดินไหวตามขอบแผ่นธรณีภาคลึกลงไปถึงชั้นเนื้อโลก จนมีภูเขาไฟที่ยังมีพลัง เช่น ที่หมู่เกาะมาริอานาส์ อาลูเทียน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์

-แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรซึ่งหนักกว่ามุดตัวลงข้างล่างใต้แผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป เกิดเป็นร่องใต้ทะเลและเกิดเทือกเขา ตามแนวขอบทวีปเป็นแนวภูเขาไฟชายฝั่ง และแผ่นดินไหวรุนแรง เช่น อเมริกาใต้แถบตะวันตก

-แผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีปชนกับแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป ซึ่งทั้งสองแผ่นมีความหนามาก ทำให้แผ่นหนึ่งมุดลงแต่อีกแผ่นหนึ่งเกยขึ้นเกิดเป็นเทือกเขาแนวยาวอยู่กลาง ทวีปหรือแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป เช่นเทือกเขาหิมาลัย ในทวีปเอเชีย เทือกเขาแอลป์ ในทวีปยุโรป

3. ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่ผ่านกัน

เกิดจากอัตราการเคลื่อนตัวของแมกมาในชั้นเนื้อโลกไม่เท่ากัน จึงทำให้แผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่ไม่เท่ากันด้วยส่งผลให้เปลือกโลกและเทือกเขา ใต้มหาสมุทรเลื่อนไถลผ่านและเฉือนกัน เกิดเป็นรอยเลื่อนเฉือนระนาบด้านข้างขนาดใหญ่ สันเขากลางมหาสมุทรเลื่อนเป็นแนวเหลื่อมกันอยู่ มีลักษณะเป็นแนวรอยแตกแคบยาวมีทิศทางตั้งฉากกับเทือกเขากลางมหาสมุทรและร่อง ใต้ทะเลลึก มักจะเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในระดับตื้นๆ ระหว่างขอบของแผ่นธรณีภาคที่ซ้อนเกยกัน เช่น รอยเลื่อนซานแอนเดรียส ประเทศอเมริกา รอยเลื่อนอัลไพล์ ประเทศนิวซีแลนด์



ภาพการชนกัน : ระหว่างแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรกับแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร


ที่มา : http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-2/geology_of_the_tectonic_plates/01.html

สมัยกรุงศรีอยุธยา

สมัยกรุงศรีอยุธยา

        กรุงศรีอยุธยาก่อกำเนิดขึ้นเป็น ราชธานีในปี พ.ศ.1893 แต่มีข้อถกเถียงกันมากว่า การถือกำเนิดของกรุง ศรีอยุธยานั้น มิได้เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วนเสียทีเดียว มีหลักฐานว่าก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะสร้างเมืองขึ้นที่ตำบลหนอง โสน บริเวณนี้เคยมีผู้คนอาศัยมาก่อนแล้ว วัดสำคัญอย่างวัดมเหยงค์ วัดอ โยธยา และวัดใหญ่ชัยมงคล ล้วนเป็นวัดเก่าที่มีมาก่อนสร้างกรุงศรี อยุธยาทั้งสิ้น โดยเฉพาะที่วัดพนัญเชิง วัดที่ประดิษฐาน หลวงพ่อโต พระ พุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่แบบอู่ทอง พงศาวดารเก่าระบุว่า สร้างขึ้นก่อน การสร้างพระนครศรีอยุธยาถึง 26 ปี วัดเหล่านี้ ตั้งอยู่ตามแนวฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก นอก เกาะเมืองอยุธยาที่มีการขุดพบคูเมืองเก่าด้วย ทำให้เชื่อกันว่าบริเวณนี้น่า จะเป็นเมืองเก่าที่มีชื่ออยู่ในศิลาจารึกกรุงสุโขทัยว่า อโยธยาศรีรามเทพ นครอโยธยาศรีรามเทพนคร ปรากฏชื่อเป็นเมืองแฝดละโว้อโยธยา มาตั้งแต่ช่วงราวปี พ.ศ.1700 เป็นต้นมา ครั้นก่อนปี พ.ศ.1900 พระเจ้าอู่ ทองซึ่งครองเมืองอโยธยาอยู่ก็ทรงอภิเษกสมรสกับพระราชธิดาของ กษัตริย์ทางฝ่ายสุพรรณภูมิ ซึ่งครองความเป็นใหญ่อยู่อีกฟากหนึ่งของแม่ น้ำเจ้าพระยา อโยธยาและสุพรรณภูมิจึงรวมตัวกันขึ้น โดยอาศัยความ สัมพันธ์ทางเครือญาติ
         ครั้นเมื่อเกิดโรคระบาด พระเจ้าอู่ทองจึงอพยพผู้คนจากเมืองอ โยธยาเดิม ข้ามแม่น้ำป่าสักมาตั้งเมืองใหม่ที่ตำบลหนองโสน หรือที่รู้จัก กันว่า บึงพระราม ในปัจจุบัน กรุงศรีอยุธยาจึงก่อเกิดเป็นราชธานีขึ้นใน ปี พ.ศ.1893 พระเจ้าอู่ทองเสด็จฯ เสวยราชย์เป็นสมเด็จพระรามาธิบดี ที่ 1 ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยของพระองค์นับได้ว่าเป็นยุคของการก่อร่างสร้างเมือง และวางรูปแบบการปกครองขึ้นมาใหม่ ทรงแบ่งการบริหารราชการออก เป็น 4 กรม ประกอบด้วย เวียง วัง คลัง และ นา หรือที่เรียกกันว่า จตุสดมภ์ ระบบที่ทรงวางไว้แต่แรกเริ่มนี้ ปรากฏว่าได้สืบทอดใช้กันมา ตลอด 400 กว่าปีของกรุงศรีอยุธยา
         สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ครองราชย์อยู่ได้เพียง 19 ปี ก็เสด็จ สวรรคต หลังจากรัชสมัยของพระองค์ ผู้ได้สร้างราชธานีแห่งนี้ขึ้นจาก ความสัมพันธ์ของสองแว่นแคว้น กรุงศรีอยุธยาได้กลายเป็นเวทีแห่งการ แก่งแย่งชิงอำนาจระหว่างสองราชวงศ์คือ ละโว้-อโยธยา และราชวงศ์ สุพรรณภูมิ
         สมเด็จพระราเมศวร โอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ขึ้นครอง ราชย์ต่อจากพระราชบิดาได้ไม่ทันไร ขุนหลวงพะงั่ว จากราชวงศ์สุพรรณ ภูมิ ผู้มีศักดิ์เป็นอาก็แย่งชิงอำนาจได้สำเร็จ ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระ บรมราชาธิราช เมื่อสิ้นรัชกาลของสมเด็จพระบรมราชาธิราช สมเด็จพระ ราเมศวรก็กลับมาชิงราชสมบัติกลับคืน
        มีการแย่งชิงอำนาจผลัดกันขึ้นเป็นใหญ่ระหว่างสองราชวงศ์นี้อยู่ ถึง 40 ปี จนสมเด็จพระนครอินทร์ ซึ่งเป็นใหญ่อยู่ทางสุพรรณภูมิและ สัมพันธ์แน่นแฟ้นอยู่กับสุโขทัย แย่งชิงอำนาจกลับคืนมาได้สำเร็จ พระ องค์สามารถรวมทั้งสองฝ่ายให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อย่างแท้จริง ในช่วงของการแก่งแย่งอำนาจกันเองนั้น กรุงศรีอยุธยาก็ พยายามแผ่อำนาจไปตีแดนเขมรอยู่บ่อยครั้ง จนกระทั่งปี พ.ศ.1974 หลัง สถาปนากรุงศรีอยุธยาได้แล้วราว 80 ปี สมเด็จเจ้าสามพระองค์ พระ โอรสของสมเด็จพระนครอินทร์ ก็ตีเขมรได้สำเร็จ เขมรสูญเสียอำนาจจน ต้องย้ายเมืองหลวงจากเมืองพระนครไปอยู่เมืองละแวกและพนมเปญในที่สุด ผลของชัยชนะครั้งนี้ ทำให้มีการกวาดต้อนเชลยศึกกลับมา จำนวนมาก และทำให้อิทธิพลของเขมรในอยุธยาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือเป็น เรื่องปกติที่ผู้ชนะมักรับเอาวัฒนธรรมของผู้แพ้มาใช้
        กรุงศรีอยุธยาหลังสถาปนามาได้กว่าครึ่งศตวรรษก็เริ่มเป็นศูนย์ กลางของราชอาณาจักรอย่างแท้จริง มีอาณาเขตอันกว้างขวางด้วยการ ผนวกเอาสุโขทัยและสุพรรณภูมิเข้าไว้ มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ โดยเฉพาะกับจีน และวัดวาอารามต่าง ๆ ได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่จน งดงาม
         หลังรัชกาลสมเด็จเจ้าสามพระยา แล้ว กรุงศรีอยุธยาก็เข้าสู่ยุคสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งเป็นช่วง เวลาที่อาณาเขตได้แผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง มีการติดต่อค้าขาย กับบ้านเมืองภายนอก รวมทั้งมีการปฏิรูปการปกครองบ้านเมืองขึ้น พระองค์ทรงยกเลิกการปกครองที่กระจายอำนาจให้เมืองลูก หลวงปกครองอย่างเป็นอิสระ มาเป็นการรวบอำนาจไว้ที่พระมหากษัตริย์ แล้วทรงแบ่งเมืองต่าง ๆ รอบนอกออกเป็น หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก ซึ่งเมืองเหล่านี้ดูแลโดยขุนนางที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง
          นอกจากนี้ก็ยังได้ทรงสร้างระบบศักดินาขึ้น อันเป็นการให้ กรรมสิทธิ์ถือที่นาได้มากน้อยตามยศ พระมหากษัตริย์มีสิทธิ์ที่จะ เพิ่ม หรือ ลด ศักดินาแก่ใครก็ได้ และหากใครทำผิดก็ต้องถูกปรับไหมตาม ศักดินานั้น
         ในเวลานั้นเอง กรุงศรีอยุธยาที่เจริญมาได้ถึงร้อยปีก็กลายเป็น เมืองที่งดงามและมีระเบียบแบบแผน วัดต่าง ๆ ที่ได้ก่อสร้างขึ้นอย่าง วิจิตรบรรจงเกิดขึ้นนับร้อย พระราชวังใหม่ได้ก่อสร้างขึ้นอย่างใหญ่โตก ว้างขวาง ส่วนที่เป็นพระราชวังไม้เดิมได้กลายเป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดคู่เมืองที่สำคัญ
           กรุงศรีอยุธยากำลังจะเติบโตเป็นนครแห่งพ่อค้าวาณิชอันรุ่งเรือง เพราะเส้นทางคมนาคมอันสะดวก ที่เรือสินค้าน้อยใหญ่จะเข้ามาจอด เทียบท่าได้ แต่พร้อม ๆ กับความรุ่งเรืองและความเปลี่ยนแปลง สงครามก็ เกิดขึ้น ช่วงเวลานั้น ล้านนา ที่มีพระมหากษัตริย์คือราชวงศ์เม็งราย ครองสืบต่อกันมา กำลังเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาเป็นคู่แข่งสำคัญของกรุงศรี อยุธยา พระเจ้าติโลกราชซึ่งได้ขยายอาณาเขตลงมาจนได้เมืองแพร่และ น่านก็ทรงดำริที่จะขยายอาณาเขตลงมาอีก เวลานั้นเจ้านายทางแคว้น สุโขทัยที่ถูกลดอำนาจด้วยการปฏิรูปการปกครองของสมเด็จพระบรมไตร โลกนาถเกิดความไม่พอใจอยุธยา จึงได้ชักนำให้พระเจ้าติโลกราชยกทัพ มายึดเมืองศรีสัชนาลัยซึ่งอยู่ในอำนาจของกรุงศรีอยุธยา
         สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถต้องเสด็จกลับไปประทับอยู่ที่เมือง สระหลวงพรือพิษณุโลก เพื่อทำสงครามกับเชียงใหม่ วงครามยืดเยื้อยาว นานอยู่ถึง 7 ปี ในที่สุดอยุธยาก็ยึดเมืองศรีสัชนาลัยกลับคืนมาได้ ตลอดรัชกาลอันยาวนานของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 กรุงศรีอยุธยาได้เจริญอย่างต่อเนื่องอยู่นานถึง 81 ปี การค้ากับต่างประเทศก็เจริญก้าวหน้าไปอย่างกว้างขวาง วัฒน ธรรมก็เฝื่องฟูทั้งทางศาสนาและประเพณีต่าง ๆ แต่หลังรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2การแย่งชิงอำนาจภายใน ก็ทำให้กรุงศรีอยุธยาอ่อนแอลง ขณะเดียวกันที่พม่ากลับเข้มแข็งขึ้น ความเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักรได้ทำให้เกิด สงครามครั้งใหญ่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
            ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ อันอาจจะเรียก ได้ว่ายุคแห่งความคับเข็ญยุ่งเหยิงนี้ เริ่มต้นด้วยการมาถึงของชาวตะวัน ตกพร้อม ๆ กับการรุกรานจากพม่า เมื่อวาสโก ตากามา ชาวโปรตุเกสเดินเรือผ่านแหลมกูดโฮปได้ สำเร็จในราว พ.ศ.2000 กองเรือของโปรตุเกสก็ทยอยกันมายังดินแดนฝั่ง ทวีปเอเชีย ในปี พ.ศ.2054 อัลฟองโซ เดอ อัลบูเควิก ชาวโปรตุเกสก็ยึด มะละกาได้สำเร็จ ส่งคณะฑูตของเขามายังสยาม คือ ดูอารต์ เฟอร์นันเดซ ซึ่งถือเป็นชาวตะวันตกคนแรกที่มาถึงแผ่นดินสยาม ชาวโปรตุเกสมาพร้อมกับวิทยาการสมัยใหม่ ความรู้เกี่ยวกับการ สร้างป้อมปราการ อาวุธปืน ทำให้สมัยต่อมาพระเจ้าไชยราชาธิราชก็ยก ทัพไปตีล้านนาได้สำเร็จ กรุงศรีอยุธยาเป็นใหญ่ขึ้น ในขณะที่พม่าเองในยุคของ พระเจ้า ตะเบ็งชะเวตี้ ก็กำลังแผ่อิทธิพลลงมาจนยึดเมืองมอญที่หงสาวดีได้ สำเร็จ อยุธยากับพม่าก็เกิดการเผชิญหน้ากันขึ้น เมื่อพวกมอญจากเชียง กรานที่ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจพม่าหนีมาพึ่งฝั่งไทย พระเจ้าไชยราชาธิราช ยกกองทัพไปขับไล่พม่า ยึดเมืองเชียงกรานคืนมาได้สำเร็จ ความขัดแย้ง ระหว่างไทยกับพม่าก็เปิดฉากขึ้น
           หลังพระเจ้าไชยราชาธิราชเสด็จสวรรคตเพราะถูกปลงพระชนม์ แผ่นดินอยุธยาก็อ่อนแอลงด้วยการแย่งชิงอำนาจ พระยอดฟ้าซึ่งมีพระ ชนม์เพียง 11 พรรษาขึ้นครองราชย์ได้ไม่ทันไรก็ถูกปลงพระชนม์อีก ในที่ สุดก็ถึงแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พม่าสบโอกาสยกทัพผ่านด่านเจดีย์ 3 องค์ เข้ามาปิดล้อมกรุงศรี อยุธยา สมเด็จพระมหาจักรพรรดินำกองทัพออกรับสู้ ในช่วงนี้เองที่หน้า ประวัติศาสตร์ได้บันทึกวีรกรรมของวีรสตรีพระองค์หนึ่ง คือ สมเด็จพระศรี สุริโยทัย ที่ปลอมพระองค์ออกรบด้วย และได้ไสช้างเข้าขวางสมเด็จพระ มหาจักรพรรดิที่กำลังเพลี่ยงพล้ำ จนถูกฟันสิ้นพระชนม์ขาดคอช้าง ทุกวัน นี้อนุสาวรีย์เชิดชูวีรกรรมของพระองค์ยังคงตั้งเด่นเป็นสง่า อยู่ใจกลาง เมืองพระนครศรีอยุธยา
           ครั้งนั้นเมื่อพม่ายึดพระนครไม่สำเร็จ เพราะไม่ชำนาญภูมิ ประเทศ กองทัพพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ต้องยกทัพกลับไปในที่สุด ฝ่ายไทยก็ตระเตรียมการป้องกันพระนครเพื่อตั้งรับการรุกราน ของพม่าที่จะมีมาอีก การเตรียมกำลังผู้คน การคล้องช้างเพื่อจัดหาช้างไว้ เป็นพาหนะสำคัญในการทำศึกครั้งนี้ ทำให้มีการพบช้างเผือกถึง 7 เชือก อันเป็นบุญบารมีสูงสุดของพระมหากษัตริย์ แต่นั่นกลับนำมาซึ่งสงคราม ยืดเยื้อยาวนานอยู่นับสิบปี
           พระเจ้าบุเรงนอง ผู้นำพม่าคนใหม่อ้างเหตุการณ์ต้องการช้างเพื อกที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิมีอยู่ถึง 7 เชือก ยกทัพมาทำสงครามกับ กรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง แล้วไทยก็เสียกรุงแก่พม่าเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.2112 ช้างเผือกอัน เป็นสาเหตุของสงครามก็ถูกกวาดต้อนไปพร้อมกับผู้คนจำนวนมาก พระ นเรศวรและพระเอกาทศรถ พระโอรสของพระมหาธรรมราชาที่พม่าตั้งให้ เป็นกษัตริย์ปกครองอยุธยาต่อไปในฐานะเมืองประเทศราชก็ทรงถูกบังคับ ให้ต้องไปด้วย
           กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองขึ้นของพม่าในครั้งนี้อยู่ถึง 15 ปี พระ นเรศวรก็ประกาศอิสรภาพ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพแล้ว กองทัพพม่านำโดย พระมหาอุปราชก็คุมทัพลงมาปราบ สมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปตั้งที่ ตำบลหนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี แล้วการรบครั้งยิ่งใหญ่ก็อุบัติขึ้น สมเด็จพระนเรศวรทรงทำยุทธหัตถีจนได้ชัยชนะ พระมหาอุปราชถูกฟัน สิ้นพระชนม์ขาดคอช้าง เป็นผลให้กองทัพพม่าต้องแตกพ่ายกลับไป
           ยุคสมัยของสมเด็จพระนเรศวร กรุงศรีอยุธยาเป็นปึกแผ่นมั่นคง ศัตรูทางพม่าอ่อนแอลง ขณะเดียวกันเขมรก็ถูกปราบปรามจนสงบ ความ มั่นคงทางเศรษฐกิจจึงเกิดขึ้นตามมา อันส่งผลให้กรุงศรีอยุธยากลายเป็น อาณาจักรที่รุ่งเรืองถึงขีดสุด ตามคำกล่าวของชาวยุโรปที่หลั่งไหลเข้ามา ติดต่อค้าขายในช่วงเวลาดังกล่าว
           นับตั้งแต่สมัยพระนเรศวรเป็นต้นมา กรุงศรี อยุธยาก็กลายเป็นศูนย์กลางการค้าทั้งในและนอกประเทศ มีผู้คนเดินทาง เข้ามาติดต่อค้าขายเป็นจำนวนมากต่างก็ชื่นชมเมืองที่โอบล้อมไปด้วยแม่ น้ำลำคลอง ผู้คนสัญจรไปมาโดยใช้เรือเป็นพาหนะ จึงพากันเรียกพระ นครแห่งนี้ว่า เวนิสตะวันออก
         หลังจากโปรตุเกสเข้ามาติดต่อค้าขายเป็นชาติแรกแล้ว ฮอลันดา ญี่ปุ่นและอังกฤษก็ตามเข้ามา ทั้งนี้ไม่นับจีนซึ่งค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา อยู่ก่อนแล้ว ชนชาติต่าง ๆ เหล่านี้ได้รับการจัดสรรที่ดินให้อยู่เป็นย่าน เฉพาะ ดังปรากฏชื่อบ้านโปรตุเกส บ้านญี่ปุ่นและบ้านฮอลันดามาจน ปัจจุบัน
           บันทึกของชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งซึ่งบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้คัด ลอกมา เล่าถึงพระนครศรีอยุธยาในสมัยนั้นไว้ว่า เป็นพระนครที่มีผู้คนต่างชาติต่างภาษารวมกันอยู่ ดูเหมือนเป็น ศูนย์กลางการค้าขายในโลก ได้ยินผู้คนพูดภาษาต่าง ๆ ทุกภาษา
          ในบรรดาชาวต่างชาติที่มาค้าขายกับอยุธยาในยุคแรกนั้น ญี่ปุ่น กลับเป็นชาติที่มีอิทธิพลมากที่สุด ยามาดะ นางามาซะ ชาวญี่ปุ่นได้รับ ความไว้วางใจถึงขั้นได้ดำรงตำแหน่งขุนนางในราชสำนักของพระเอกาทศ รถ มียศเรียกว่า ออกญาเสนาภิมุข ต่อมาได้ก่อความยุ่งยากขึ้นจด หมดอิทธิพลไปในที่สุด
           แม้จะมีชนชาติต่าง ๆ เข้ามาค้าขายด้วยมากมาย แต่กรุงศรี อยุธยาก็ดูเหมือนจะผูกพันการค้ากับจีนไว้อย่างเหนียวแน่น จีนเองก็ส่ง เสริมให้อยุธยาผลิตเครื่องปั้นดินเผาโดยเฉพาะเครื่องสังคโลก เพื่อส่งออก ไปยังตะวันออกกลางและหมู่เกาะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
        การค้าขายต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้กรุงศรีอยุธยามีการเก็บภาษีที่ เรียกว่า ขนอน มีด่านขนอนซึ่งเป็นด่านเก็บภาษีอยู่ตามลำน้ำใหญ่ทั้ง 4 ทิศ และยังมีขนอนบกคอยเก็บภาษีที่มาทางบกอีกต่างหาก นอกเหนือจากความเป็นเมืองท่าแล้ว อยุธยายังเป็นชุมทางการ ค้าภายในอีกด้วย ตลาดกว่า 60 แห่งในพระนคร มีทั้งตลาดน้ำ ตลาดบก และยังมีย่านต่าง ๆ ที่ผลิตสินค้าด้วยความชำนาญเฉพาะด้าน มีย่านที่ ผลิตน้ำมันงา ย่านทำมีด ย่านปั้นหม้อ ย่านทำแป้งหอมธูปกระแจะ ฯลฯ
           คูคลองต่าง ๆ ในอยุธยาได้สร้างสังคมชาวน้ำขึ้นพร้อมไปกับวิถี ชีวิตแบบเกษตรกรรม เมื่อถึงหน้าน้ำก็มีการเล่นเพลงเรือเป็นที่สนุกสนาน เมื่อเสร็จหน้านาก็มีการทอดกฐิน ลอยกระทง งานรื่นเริงต่าง ๆ ของชาว บ้านมักทำควบคู่ไปกับพิธีการของชาววัง เช่น พระราชพิธีจองเปรียญตาม พระประทีป ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นลอยกระทงทรงประทีป พระราชพิธี สงกรานต์ พระราชพิธีแรกนาขวัญ พิธีกรรมเหล่านี้สะท้อนวิถีชีวิตของชาว อยุธยาที่ผูกพันอยู่กับธรรมชาติแม่น้ำลำคลองอย่างเหนียวแน่น
         อยุธยาเจริญขึ้นมาโดยตลอด การค้าสร้างความมั่งคั่งให้พระคลัง ที่มีสิทธิ์ซื้อสินค้าจากเรือสินค้าต่างประเทศทุกลำได้ก่อนโดยไม่เสียภาษี ความมั่งคั่งของราชสำนักนำไปสู่การสร้างวัดวาอารามต่าง ๆ การทำนุ บำรุงศาสนาและการก่อสร้างพระราชวังให้ใหญ่โตสง่างาม
         ในสายตาของชาวต่างประเทศแล้ว กรุงศรีอยุธยาเป็นมหานคร อันยิ่งใหญ่ ที่มีพระราชวังเป็นศูนย์กลาง โยสเซาเต็น พ่อค้าชาวฮอลันดาที่ เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระจเาปราสาททองได้บันทึกไว้ว่า กรุงศรีอยุธยาเป็นครที่ใหญ่โตโอ่อ่าวิจิตรพิสดาร และพระมหากษัตริย์ สยามเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในภาคตะวันออกนี้
       พระนครแห่งนี้ ภายนอกอาจดูสงบงดงามและร่มเย็นจากสายตา ของคนภายนอก แต่แท้จริงแล้วบัลลังก์แห่งอำนาจภายในของกรุงศรี อยุธยาไม่เคยสงบ เมื่อสมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จสวรรคต การแย่งชิงอำนาจได้ ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปี พ.ศ.2172 ราชวงศ์สุโขทัยที่ครองราชย์ สืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยของพระมหาธรรมราชาก็ถูกโค่นล้ม พระเจ้า ปราสาททองเสด็จขึ้นครองราชย์ และสถาปนาราชวงศ์ปราสาททองขึ้น ใหม่
          แม้จะครองบัลลังก์จากการโค่นล้มราชวงศ์อื่นลง ยุคสมัยของ พระองค์และสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่ยาวนานถึง 60 ปีนั้น กลับ เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด พระเจ้าปราสาททองทรงมุ่งพัฒนาบ้านเมืองทั้งทางด้านศิลป กรรมและการค้ากับต่างประเทศ ทรงโปรดให้สร้างวัดไชยวัฒนารามริมฝั่ง แม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นด้วยคติเขาพระสุเมรุจำลอง อันเป็นแบบอย่างที่ได้รับ อิทธิพลมาจากปราสาทขอม พร้อมกันนี้ก็ได้มีการคิดค้นรูปแบบทางศิลป กรรมใหม่ ๆ ขึ้น เช่นพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง พระพุทธรูปทรงเครื่องแบบ อยุธยาอันงดงามก็ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาในสมัยนี้
        ทางด้านการค้ากับต่างประเทศ หลังจากที่โปรตุเกสเข้ามาค้า ขายกับกรุงศรีอยุธยาจนทำให้เมืองลิสบอนของโปรตุเกสกลายเป็นศูนย์ กลางการค้าเครื่องเทศและพริกไทยในยุโรปนานเกือบศตวรรษแล้ว ฮอลันดาจึงเริ่มเข้ามาสร้างอิทธิพลแข่ง กรุงศรีอยุธยาสร้างไมตรีด้วยการให้สิทธิพิเศษบางอย่างแก่พวก ดัตช์ เพื่อถ่งดุลกับชาวโปรตุเกสที่เนิ่มก้าวร้าวและเรียกร้องสิทธิพิเศษเพิ่มขึ้นทุกขณะ
      พอถึงสมัยพระเจ้าปราสาททอง การค้าของฮอลันดาเจริญรุ่งเรือง ขึ้นมาก จึงเริ่มแสดงอิทธิพลบีบคั้นไทย ประกอบกับพระคลังในสมัยนั้นได้ ดำเนินการผูกขาดสินค้าหลายชนิด รวมทั้งหนังสัตว์ที่เป็นสินค้าหลักของ ชาวดัตช์ ทำให้เกิดความไม่พอใจถึงขั้นจะใช้กำลังกันขึ้น
        ถึงสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ฮอลันดาก็คุกคามหนัก ขึ้น ในที่สุดก็เข้ายึดเรือสินค้าของพระนารายณ์ที่ชักธงโปรตุเกสในอ่าวตัง เกี๋ย ต่อมาไม่นานก็นำเรือ 2 ลำเข้ามาปิดอ่าวไทย เรียกร้องไม่ให้จ้างชาว จีน ญี่ปุ่น และญวนในเรือสินค้าของอยุธยา เพื่อปิดทางไม่ให้อยุธยาค้า ขายแข่งด้วย มีการเจรจากันในท้ายที่สุด ซึ่งผลจากการเจรจานี้ทำให้ ฮอลันดาได้สิทธิ์ผูกขาดหนังสัตว์อย่างเดิม
         เพื่อถ่วงดุลอำนาจกับฮอลันดที่นับวันจะเพิ่มขึ้นทุกขณะ สมเด็จพระนารายณ์จึงหัน ไปเอาใจอังกฤษกับฝรั่งเศสแทน ในช่วงนี้เองความสัมพันธ์ระหว่างกรุงสยามกับ ฝรั่งเศสเจริญรุ่งเรืองอย่างที่สุด บุคคลผู้หนึ่งที่ก้าวเข้ามาในช่วงนี้และต่อไปจะได้มี บทบาทอย่างมากในราชสำนักสยาม ก็คือ คอนแสตนติน ฟอลคอน
            ฟอลคอนเป็นชาวกรีกที่เข้ามารับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ราวกลาง รัชสมัย และเจริญก้าวหน้าจนขึ้นเป็นพระยาวิชาเยนทร์ในเวลาอันรวดเร็ว เวลาเดียว กันกับที่ฟอลคอนก้าวขึ้นมามีอำนาจในราชสำนักไทย ฝรั่งเศสในราชสำนักกของ พระเเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่เข้ามาติดต่อการค้าและเผยแพร่ศาสนาก็พยายามเกลี้ยกล่อม ให้สมเด็จพระนารายณ์หันมาเข้ารีตนิกกายโรมันคาทอลิกตามอย่างประเทศฝรั่งเศส
          ในช่วงเวลานี้ได้มีการส่งคณะทูตสยามเดินทางไปฝรั่งเศสเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี ทางฝรั่งเศสเองก็ส่งคณะทูตเข้ามาในสยามบ่อยครั้ง โดยมีจุดประสงค์หลักคือชัก ชวนให้พระนารายณ์ทรงเข้ารีต ฟอลคอนเองซึ่งเปลี่ยนมานับถือนิกาย โรมันคาทอลิกตามภรรยา ไดด้สมคบกับฝรั่งเศสคิดจะเปลี่ยนแผ่นดินสยามให้เป็น เมืองขึ้นของฝรั่งเศส ดังเช่นใน พ.ศ. 2228 โดยราชทูตเชอวาเลีย เดอโชมองต์, ปี พ.ศ. 2230 โดยลาลูแบร์ ก็กลับไม่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนให้พระเจ้าแผ่น ดินสยามหันมาเข้ารีต ไม่นานชาวสยามก็เริ่มชิงชังฟอลคอนมากขึ้น อิทธิพลของฟอลคอนที่มีต่อราช สำนักกสยามก็เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ปี พ.ศ. 2231 สมเด็จพระนารายณ์ทรงประชวน หนัก ไม่สามารถว่าราชกาลได้ มีรับสั่งให้ฟอลคอนรีบลาออกจากราชการและไป เสียจากเมืองไทย แต่ก็ช้าไปด้วยเกิดความวุ่นวายขึ้นเสียก่อน พระเพทราชาและ คณะผู้ไม่พอใจฝรั่งเศสจับฟอลคอนไปประหารชีวิต เมื่อสมเด็จพระนารายณ์เสด็จ สวรรคตในเดือนต่อมาพระเพทราชาก็เสด็จขึ้นเถลิงราชสมบัติแทน
        การเข้ามาของยุโรปจำนวนมากในสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททองและสมเด็จ พระนารายณ์ นอกจากจะทำให้บ้านเมืองมีความมั่งคั่งแล้ว ยังก้าวหน้าไปด้วยวิทยา การสมัยใหม่ทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม การแพทย์ ดาราศาสตร์ การทหาร มีการ ก่อสร้างอาคาร ป้อมปราการ พระที่นั่งในพระราชวังเพิ่มเติมด้วยเทคโนโลยีแบบ ตะวันตก นอกจากนี้ภาพวาดของชาวตะวันตกยังแสดงให้เห็นว่ามีการส่องกล้องดู ดาวในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ด้วย
           เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ ความขัดแย้งภายในเมื่องจากการแย่งชิงราช สมบัติเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้การติดต่อกับต่างประเทศซบเซาลงไป ตั้งแต่รัช สมัยสมเด็จพระเพทราชาจนถึงพระเจ้าท้ายสระ มีการก่อสร้างสิ่งใหม่ๆเพียงไม่กี่อย่าง
           ครั้นถึงสมัยพระเจ้าบรมโกศ บ้านเมืองก็กลับเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้งในช่วง ระยะเวลาหนึ่ง จนกล่าวได้ว่ายุคสมัยของพระองค์นับเป็นยุคทองของศิลปวิทยา การอย่างแท้จริงก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะตกต่ำไปจนถึงกาลล่มสลาย
           ในรัชกาลนี้ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระราชวังและวัดวาอารามต่างๆ ศิลปกรรม เฟื่องฟูขึ้นมาอย่างมากทั้งในด้านลวดลายปูนปั้น การลงรักปิดทอง การช่างประดับ มุก การแกะสลักประตูไม้ ทางด้านวรรณคดีก็มีกวีเกิดขึ้นหลายคน ที่โดเด่นและ เป็นที่รู้จักคือ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร ผู้นิพนธ์กาพย์เห่เรือ ส่วยการมหรสพก็มีการฟื้น ฟูบทละครนอกละครในขึ้นมาเล่นกันอย่างกว้างขวาง กรุงศรีอยุธยาถูกขับกล่อม ด้วยเสียงดนตรัและความรื่นเริงอยู่ตลอดเวลา
          แต่ท่ามกลางความสงบสุขและรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรม ความขัดแย้งค่อยๆ ก่อตัวขึ้น การแย่งอำนาจทั้งในหมู่พระราชวงศ์ ขุนนาง ทำให้อีกไม่ถึง 10 ปีต่อ มากรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่พพม่าในสมัยของพระเจ้าเอกทัศน์ เมื่อ พ.ศ.2310
          กรุงศรีอยุธยาในสมัยของพระเจ้าบรมโกศจนถึงสมัยของพระเจ้าเอกทัศน์นั้น คล้ายกับพลุที่จุดขึ้นสว่างโร่บนท้องฟ้าชั่วเวลาเพียงไม่นานแล้วก็ดับวูบลงทันที วักรุงแตกเมื่อ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 เล่ากัยว่าในกำแพงเมืองมีผู้คนหนีพม่า มาแออัดอยู่นับแสนคน ปรากฏว่าได้ถูกพม่าฆ่าตายไปเสียกว่าครึ่ง ที่เหลือก็หนี ไปอยู่ตามป่าตามเขา พม่าได้ปล้นสะดม เผาบ้านเรือน พระราชวังและวัดวาอาราม ต่างๆจนหมดสิ้น นอกจากนี้ยังหลอมเอาทองที่องค์พระและกวาดต้อนผู้คนกลับ ไปจำนวนมาก อารยธรรมที่สั่งสมมากว่า 400 ปี ของกรุงศรีอยุธยาก็ถูกทำลาย ลงอย่างราบคาบเมื่อสิ้นสงกรานต์ปีนั้น
            หลังจากกรุงแตกแล้วพม่าก็มิได้เข้ามาปกครองสยามอย่างเต็มตัว คงทิ้งให้สุกี้ พระนายกองตั้งอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้นเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อย สภาพบ้าน เมืองหลังจากเสียแก่พม่าแล้วก็มีชุมนุมเกิดขึ้นตามหัวเมืองต่าง ได้แก่ ชุมนุม เจ้าฝาง ชุมนุมเจ้าตาก ชุมนุมเจ้าพิษณุโลก ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช ที่ต่าง ก็ซ่องสุมผู้คนเพื่อเตรียมแผนการใหญ่
            ในบรรดาชุมนุมใหญ่น้อยเหล่านี้ ชุมนึมพระเจ้าตากได้เติบโตเข้มแข็งขึ้นเมื่อ ยึดได้เมืองจันทบุรี กองทัพพระเจ้าตากใช้เวลาหลายเดือนในการรวบรวมผู้ คนตระเตรียมเรือรบ แล้วจึงเดินทัพทางทะเลขึ้นมาจนถึงเมืองธนบุรี เข้ายึด เมืองธนบุรีได้แล้ว ไม่นานก็ตีค่ายพม่าที่โพธิ์สามต้นแตกในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 นับรวมเวลาในการกอบกู้เอกราชไม่ถึงหนึ่งปี สมดังคำที่ว่า "กรุง ศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี



ที่มา : http://www.baanjomyut.com/library/history_thai/ayutthaya.html