วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

ประวัติศาสตร์จีนสมัยจักรวรรดิ์

          
ประวัติศาสตร์จีนสมัยจักรวรรดิ์

ประวัติศาสตร์จีน ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฉิน(จิ๋น) ถึงราชวงศ์ชิง มีลักษณะการปกครองใน รูปแบบนครรัฐที่เข้มแข็งมีอำนาจเหนือรัฐอื่นๆ มีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนอำนาจการปกครองจาก ราชวงศ์หนึ่งสู่อีกราชวงศ์หนึ่ง มีเหตุการณ์ต่างๆที่น่าสนใจเกิดขึ้นทั้งความรุ่งเรืองและเสื่อมถอย ซึ่ง เป็นพัฒนาการของอารยธรรมจีน ในยุคที่เรียกว่า สมัยจักรวรรดิ์
ช่วงเวลา 476 ถึง 221 ปีก่อนค.ศ. นักประวัติศาสตร์เรียกว่า ยุคจ้านกว๋อหรือเลียดก๊ก เป็นยุคแห่งความแตกแยก แคว้นต่าง ๆ ทำสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่ มีรัฐใหญ่ 7 รัฐ คือ รัฐฉี รัฐฉู่ รัฐเยียน รัฐเจ้า รัฐหาน รัฐเว่ย รัฐฉิน ในที่สุดอิ๋งเจิ้งแห่งรัฐฉินมีชัยชนะ

ราชวงศ์ฉิน หรือจิ๋น (221 – 206 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

อิ๋งเจิ้ง สถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าฉิน หรือหวงตี้ (ฮ่องเต้) แห่งราชวงศ์ฉิน และบังคับให้ประชาชนเรียกตนเองว่า ชาวฉินหรือจิ๋น ซึ่งเป็นที่มาของคำว่าชาวจีน สมัยนี้มีการปฏิรูประบบตัวอักษรระบบชั่ง ตวง วัด กำหนดให้มีเพลารถ ล้อรถขนาดเดียวกันทั้งอาณาจักร แบ่งการปกครองเป็นจังหวัด อำเภอ มีการรวมอำนาจสู่ส่วนกลางที่เมืองหลวง เป็นรัฐที่ปกครองด้วยระบบรัฐทหาร ไม่เห็นด้วยกับแนวทางของลัทธิขงจื้อ นักประวัติศาสตร์พบว่ามีการสั่งเผาตำราและประหารบัณฑิตของสำนักขงจื้อ ด้วยการเผาหรือฝังทั้งเป็น มีการก่อสร้างกำแพงเมืองจีน ถนน ขุดคลอง มหาสุสาน ด้วยการเกณฑ์แรงงานชาวจีน หลังจากพระเจ้าฉิน หรือฉินสือหวงตี้ป่วยหนักและสิ้นพระชนม์ โอรสชื่อ ฝูโซว เป็นผู้สืบราชบัลลังก์ แต่ถูกหูไห้ โอรสอีกองค์หนึ่งร่วมมือกับขันที และอัครเสนาบดีแย่งอำนาจตั้งเป็นกษัตริย์นามว่า ฉินเอ้อซื่อ (พระเจ้าฉินที่สอง) พระองค์เป็นฮ่องเต้ที่โหดเหี้ยม และไร้ความสามารถ ชาวจีนที่ไม่พอใจเริ่มก่อกบฏหลายกลุ่ม กบฏกลุ่มของหลิวปังสามารถรวบรวมกบฎกลุ่มอื่น ยึดอำนาจจากราชวงศ์ฉินได้สำเร็จ และสถาปนาราชวงศ์ฮั่น
ราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อนคริสต์ศักราชถึง ค.ศ.220)

หลิวปัง สถาปนาเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของราชวงศ์ฮั่น นามว่า ฮั่นเกาจู มีเมืองหลวงอยู่ที่เมือง - ฉางอาน ในยุคของฮั่นเกาจู เป็นยุคฟื้นฟูบ้านเมือง ส่งเสริมการเกษตร และเก็บภาษีเพียง 1 ใน 30 ส่วน ต่อมาในสมัยของกษัตริย์ (ฮ่องเต้) องค์ที่ 5 คือ พระเจ้าฮั่นอู่ตี้ มีการบุกเบิกเส้นทางสายไหม (Silk Road) ค้าขายกับอาณาจักรที่อยู่ทางตะวันตกของจีน เช่น อินเดีย อาหรับ โรมัน ในสมัยนี้มีนักประวัติศาสตร์คนสำคัญของจีนชื่อ ซือหม่าเซียนซึ่งเขียนหนังสือประวัติศาสตร์ชื่อว่า สื่อจี้มีการฟื้นฟูลัทธิขงจื้อ ใช้เป็นหลักในการปกครอง มีการสอบคัดเลือกคนเข้ารับราชการเรียกว่า สอบจอหงวน นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงเวลานี้ว่า ฮั่นตะวันตก” (206 ปีก่อนค.ศ. ค.ศ.9)
 ความอ่อนแอของราชสำนักในช่วงกลางราชวงศ์ฮั่น มีเสนาบดีชื่อ หวางมั่ง ชิงบัลลังก์ตั้ง ราชวงศ์ซิน” (ค.ศ.9 – ค.ศ.23) ขึ้นมาระยะหนึ่งแต่ไม่มีผู้สืบทอดอำนาจ และถูกหลิวซิ่ว เชื้อพระวงศ์ฮั่นยึดอำนาจกลับคืนตั้งราชวงศ์ฮั่นขึ้นใหม่ ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองลั่วหยาง สถาปนาตนเป็นกษัตริย์ชื่อ ฮั่นกวงอู่ตี้ นักประวัติศาสตร์เรียกสมัยนี้ว่า ราชวงศ์ ฮั่นตะวันออก” (ค.ศ.23 – ค.ศ.220) แต่ตอนปลายราชวงศ์กษัตริย์อ่อนแอมาก ในปีค.ศ. 184 เกิดกบฏโจรโพกผ้าเหลือง แต่หลิวเป้ย จาเฟย และกวนตี่ ร่วมกันปราบกบฏได้สำเร็จ แต่ขณะเดียวกันในราชสำนักเกิดการแย่งชิงอำนาจระหว่างกลุ่มของฮองเฮา ขันที และเสนาบดี ทำให้จีนก้าวเข้าสู่ยุคขุนศึก มีอาณาจักรสามแห่งแย่งชิงอำนาจกัน เรียกว่า ยุคสามก๊ก และที่เป็นมาของวรรณกรรมเรื่อง สามก๊ก

ยุคสามก๊ก (ค.ศ.220 – ค.ศ.280)
เป็นยุคที่แผ่นดินจีนแบ่งออกเป็น 3 แคว้น(ก๊ก) แคว้นทางเหนือมีเฉาเชา (โจโฉ) ผู้สถาปนาแคว้นเว่ย หลิวเป้ย(เล่าปี่) ตั้งราชวงศ์ชู่ฮั่นอยู่ทางตะวันตก และซุนเฉวียน (ซุนกวน) ตั้งราชวงศ์วู อยู่ทางตอนใต้ ค.ศ.263 แคว้นชู่ฮั่นของเล่าปี่ล่มสลาย ค.ศ.265 แคว้นเว่ยของโจโฉ ถูกเสนาบดีชื่อ ซือหม่าเอี๋ยน ยึดอำนาจและก่อตั้งราชวงศ์จิ้นครองราชย์ในนามราชวงศ์จิ้น สำหรับแคว้นวู (อู๋) ในสมัยฮ่องเต้ซุนเฮ่า ทำตัวเป็นทรราช ราชวงศ์จิ้นจึงยกกองทัพมาทำสงคราม ซุ่นเฮ่ายอมแพ้ แคว้นวูจึงล่มสลายไป
ราชวงศ์จิ้น (ค.ศ.265 – ค.ศ.420)

ซือมาเอี๋ยน สถาปนาตนเองเป็นจิ้นอู่ตี้ ตั้งราชวงศ์จิ้น ในค.ศ.265 รวมแผ่นดินจีนเป็นปึกแผ่น นักประวัติศาสตร์เรียกว่า ราชวงศ์จิ้นตะวันตก (ค.ศ.265 – ค.ศ.317) ฮ่องเต้องค์ต่อมามีความอ่อนแอ มีความฟุ้งเฟ้อ ความขัดแย้งภายในราชสำนัก เกิดกบฏในราชสำนัก กบฏชาวนา และถูกโจมตีจากชนกลุ่มน้อยเผ่าซงหนู และจับตัวฮ่องเต้องค์ที่ 4 (ซือ หม่าเยี่ย)
ค.ศ.317 ซือหม่าวุ่ย ครองราชย์ต่อและย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองเจี้ยนคัง แต่ไม่ได้รวมอาณาจักรให้เป็นปึกแผ่น นักประวัติศาสตร์เรียกว่า ราชวงศ์จิ้นตะวันออก (ค.ศ.317 – ค.ศ.420) การปกครองสมัยนี้อ่อนแอจึงถูกกลุ่มที่เคยให้การสนับสนุนเข้ายึดอำนาจ และเกิดอาณาจักรเล็ก ๆ ของชนกลุ่มน้อยกระจายอยู่ทางตอนเหนือและทางตอนใต้ของจีน
ยุคราชวงศ์เหนือใต้ (ค.ศ.420 – ค.ศ.581)
ในยุคนี้ทางตอนเหนือของจีนมีชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่มตั้งเป็นอาณาจักรต่าง ๆ เช่น เว่ยเหนือ เว่ยตะวันออก ฉีเหนือ เว่ยตะวันตก โจวเหนือ ทางตอนใต้ของจีนมีอาณาจักรต่าง ๆ เช่น จิ้น ซ่ง ฉี เหลียง เฉิน ยุคนี้มีพระโพธิธรรม (ตั๊กม้อ) จาริกจากอินเดียมาเผยแพร่พุทธศาสนานิกายสุขาวดี (ฌาน หรือเซ็น)
ราชวงศ์สุย (ค.ศ.581ค.ศ.618)

หยางเจียน ซึ่งเคยเป็นเสนาบดีของราชวงศ์โจวเหนือ รวบรวมอาณาจักรต่าง ๆ เป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จ สถาปนาเป็นพระเจ้าสุยเหวินตี้ ปกครองจีนต่อมา หลังจากสิ้นพระชนม์ โอรสชื่อ หยางกว่าง ขึ้นครองราชย์ ชื่อพระเจ้าสุยหยางตี้ ปกครองบ้านเมืองด้วยความเหี้ยมโหด ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เกณฑ์แรงงานชาวจีนก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ และขุดคลองยาวประมาณสองพันกิโลเมตรเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซี เพื่อใช้ประโยชน์ด้านคมนาคม ประชาชนจึงก่อกบฏ และลูกพี่ลูกน้องของสุยหยางตี้ ชื่อ หลี่หยวน ก็ก่อกบฏด้วย พระเจ้าสุยหยางตี้ถูกปลงพระชนม์ จากนั้นหลี่หยวนปราบกบฏกลุ่มต่าง ๆ ได้สำเร็จและตั้งราชวงศ์ถังขึ้น

ราชวงศ์ถัง (ค.ศ.618ค.ศ.906)

หลี่หยวน สถาปนาตนเองเป็น ถังเกาจูฮ่องเต้รวบรวมอาณาจักรเป็นปึกแผ่น แต่ในสมัยของพระองค์มีการแย่งชิงตำแหน่งรัชทายาท ระหว่างโอรสหลี่เจี้ยนเฉิง หลี่ซื่อหมิน และหลี่หยวนจี๋ ซึ่ง - หลี่ซื่อหมิน สามารถสังหารพี่น้องทั้งสององค์ และให้ถังเกาจูตั้งเป็นรัชทายาท พระเจ้าถังเกาจูสละราชบัลลังก์ ตั้งตนเป็นสมเด็จพระราชบิดา (ไท่ซ่างหวาง) หลี่ซื่อหมินขึ้นครองราชย์เป็น ถังไท่จงฮ่องเต้และแต่งตั้งให้คนสนิทของหลี่เจี้ยนเฉิง ชื่อเว่ยเจิง เป็นที่ปรึกษา และพระองค์ให้ความนับถืออย่างมาก
ในยุคถังไท่จงฮ่องเต้ แผ่นดินจีนรุ่งเรืองมากทั้งด้านเศรษฐกิจการค้า ศิลปวัฒนธรรม การก่อสร้าง การทหาร มีการติดต่อกับต่างชาติเช่น ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ การปรับปรุงกำแพงเมืองจีน ใช้วิธีการจ้าง ขยายอาณาเขตกว้างใหญ่มากขึ้น มีเมืองหลวงคือเมืองฉางอาน (ซีอานในปัจจุบัน) ในยุคนี้มีพระเสวียนจั้ง (ถังซำจั๋ง) จาริกไปศึกษาและอัญเชิญพระไตรปิฎกพุทธศาสนา (มหายาน) จากวัดนาลันทา ประเทศอินเดีย นำมาเผยแพร่ (เป็นที่มาของตำนานไซอิ๋ว)
หลังจากพระเจ้าถังไท่จงสิ้นพระชนม์ รัชทายาทชื่อหลี่จื้อ เป็นผู้ครองราชย์ต่อมานามว่า ถังเกาจงฮ่องเต้พระองค์ได้นางอิเหม่ยเหนียง อดีตสนมของพระบิดามาเป็นสนมเอก ซึ่งสนมเอกคนนี้ใส่ความมเหสีจนมเหสีถูกถอดบรรดาศักดิ์ลงเป็นไพร่ แล้วถังเกาจงแต่งตั้งสนมเอกเป็นมเหสีแทน และพระนางแทรกแซงการบริหารบ้านเมืองของ ถังเกาจงโดยตลอด กระทั่งพระเจ้าถังเกาจงสิ้นพระชนม์ พระนางได้เปลี่ยนชื่อราชวงศ์ถังเป็นราชวงศ์โจว แล้วตั้งตนเป็น อู่เจ๋อเทียน” (บูเช็คเทียน) พระนางกำจัดศัตรูทางการเมืองและปกครองราชวงศ์โจวกระทั่งเสียชีวิตด้วยวัยชรา
จากนั้น หลี่หลงจี๋ ครองราชย์เป็นถังเสวียนจงฮ่องเต้ ปกครองบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองกว่ายุคของถังไท่จงฮ่องเต้ ยุคสมัยนี้มีกวีสำคัญคือ หลี่ไป๋ และตู้ฝู้ ปลายสมัยของพระเจ้าถังเสวียนจง มีการกบฏ หลังจากนั้นราชวงศ์ถังก็อ่อนแอลง ทำให้ขันทีมีอำนาจมากขึ้น มีกบฏหลายครั้ง แม่ทัพชื่อจูเวิน สังหารขันที และปลงพระชนม์ฮ่องเต้องค์สุดท้ายของราชวงศ์ คือ ถังอ้ายจงฮ่องเต้ และตั้งราชวงศ์เหลียงขึ้นมา อย่างไรก็ตามนักประวัติศาสตร์เรียกสมัยราชวงศ์ถังว่าเป็น ยุคทองของศิลปวัฒนธรรมจีน

ราชวงศ์ถัง (ค.ศ.618ค.ศ.906)

หลี่หยวน สถาปนาตนเองเป็น ถังเกาจูฮ่องเต้รวบรวมอาณาจักรเป็นปึกแผ่น แต่ในสมัยของพระองค์มีการแย่งชิงตำแหน่งรัชทายาท ระหว่างโอรสหลี่เจี้ยนเฉิง หลี่ซื่อหมิน และหลี่หยวนจี๋ ซึ่ง - หลี่ซื่อหมิน สามารถสังหารพี่น้องทั้งสององค์ และให้ถังเกาจูตั้งเป็นรัชทายาท พระเจ้าถังเกาจูสละราชบัลลังก์ ตั้งตนเป็นสมเด็จพระราชบิดา (ไท่ซ่างหวาง) หลี่ซื่อหมินขึ้นครองราชย์เป็น ถังไท่จงฮ่องเต้และแต่งตั้งให้คนสนิทของหลี่เจี้ยนเฉิง ชื่อเว่ยเจิง เป็นที่ปรึกษา และพระองค์ให้ความนับถืออย่างมาก
ในยุคถังไท่จงฮ่องเต้ แผ่นดินจีนรุ่งเรืองมากทั้งด้านเศรษฐกิจการค้า ศิลปวัฒนธรรม การก่อสร้าง การทหาร มีการติดต่อกับต่างชาติเช่น ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ การปรับปรุงกำแพงเมืองจีน ใช้วิธีการจ้าง ขยายอาณาเขตกว้างใหญ่มากขึ้น มีเมืองหลวงคือเมืองฉางอาน (ซีอานในปัจจุบัน) ในยุคนี้มีพระเสวียนจั้ง (ถังซำจั๋ง) จาริกไปศึกษาและอัญเชิญพระไตรปิฎกพุทธศาสนา (มหายาน) จากวัดนาลันทา ประเทศอินเดีย นำมาเผยแพร่ (เป็นที่มาของตำนานไซอิ๋ว)
หลังจากพระเจ้าถังไท่จงสิ้นพระชนม์ รัชทายาทชื่อหลี่จื้อ เป็นผู้ครองราชย์ต่อมานามว่า ถังเกาจงฮ่องเต้พระองค์ได้นางอิเหม่ยเหนียง อดีตสนมของพระบิดามาเป็นสนมเอก ซึ่งสนมเอกคนนี้ใส่ความมเหสีจนมเหสีถูกถอดบรรดาศักดิ์ลงเป็นไพร่ แล้วถังเกาจงแต่งตั้งสนมเอกเป็นมเหสีแทน และพระนางแทรกแซงการบริหารบ้านเมืองของ ถังเกาจงโดยตลอด กระทั่งพระเจ้าถังเกาจงสิ้นพระชนม์ พระนางได้เปลี่ยนชื่อราชวงศ์ถังเป็นราชวงศ์โจว แล้วตั้งตนเป็น อู่เจ๋อเทียน” (บูเช็คเทียน) พระนางกำจัดศัตรูทางการเมืองและปกครองราชวงศ์โจวกระทั่งเสียชีวิตด้วยวัยชรา
จากนั้น หลี่หลงจี๋ ครองราชย์เป็นถังเสวียนจงฮ่องเต้ ปกครองบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองกว่ายุคของถังไท่จงฮ่องเต้ ยุคสมัยนี้มีกวีสำคัญคือ หลี่ไป๋ และตู้ฝู้ ปลายสมัยของพระเจ้าถังเสวียนจง มีการกบฏ หลังจากนั้นราชวงศ์ถังก็อ่อนแอลง ทำให้ขันทีมีอำนาจมากขึ้น มีกบฏหลายครั้ง แม่ทัพชื่อจูเวิน สังหารขันที และปลงพระชนม์ฮ่องเต้องค์สุดท้ายของราชวงศ์ คือ ถังอ้ายจงฮ่องเต้ และตั้งราชวงศ์เหลียงขึ้นมา อย่างไรก็ตามนักประวัติศาสตร์เรียกสมัยราชวงศ์ถังว่าเป็น ยุคทองของศิลปวัฒนธรรมจีน

ยุคห้าราชวงศ์ (ค.ศ.907ค.ศ.960)

ในยุคนี้มีราชวงศ์ต่าง ๆ ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นมามีอำนาจเป็นระยะเวลาสั้น ๆ รวม 5 ราชวงศ์ ได้แก่ เหลียง ถัง จิ้น ฮั่น โจว ปกครองอยู่บริเวณลุ่มน้ำฮวงโห และยังมีแคว้นเล็ก ๆ อีก 10 แคว้น แบ่งแยกกันปกครองอยู่บริเวณลุ่มน้ำแยงซีเกียง ชีวิตของชาวจีนยุคสมัยนี้เต็มไปด้วยความยากลำบาก จากภัยสงครามและภัย -ธรรมชาติ ต่อมาแม่ทัพของราชวงศ์โจว ชื่อ เจ้าควงอิ้น ชิงอำนาจจากราชวงศ์โจว สถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าซ่งไท่จู่แห่งราชวงศ์ซ่ง (ซ้อง) และรวบรวมแผ่นดินจีนเป็นปึกแผ่นได้สำเร็จ

ราชวงศ์ซ่ง (ซ้อง) (ค.ศ.960ค.ศ.1279)

พระเจ้าซ่งไท่จู่ รวบรวมจีนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองไคฟง (มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก มีความเจริญรุ่งเรืองด้านศิลปวัฒนธรรม มีการจัดระเบียบขันที ทำให้ลดปัญหาจากกลุ่มขันทีลงไป มีความก้าวหน้าในการเดินเรือสำเภา รู้จักการใช้เข็มทิศ มีการประดิษฐ์ลูกคิด แท่นพิมพ์หนังสือ มีการรักษาโรคด้วยการฝังเข็ม นักประวัติศาสตร์เรียกยุคแรกของราชวงศ์ว่า ยุคซ่งเหนือกษัตริย์ที่ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าซ่งไท่จู่ เป็นต้นมาเป็นระยะเวลาที่ราชวงศ์อ่อนแอ และมี เปาเจิ้ง (เปาบุ้นจิ้น) เป็นขุนนางในยุคนี้
จีนถูกรุกรานโดยชนเผ่าซีเซี่ย (บริเวณทิเบต) และพวกซีตาน (เมืองเหลียว) ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยทางตอนเหนือ จนต้องยอมทำสัญญาสงบศึก ต้องส่งเครื่องบรรณาการให้ ต่อมามีชนเผ่าจินบุกเข้าเมืองหลวง - (ค.ศ.1127) จับฮ่องเต้เป็นเชลยถึง 2 พระองค์ ต่อมามีเชื้อพระวงศ์คนหนึ่งชื่อ เจ้าโก้วตั้งตนเป็นกษัตริย์ชื่อ ซ่งเกาจงฮ่องเต้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองหลินอาน (หางโจว) นักประวัติศาสตร์เรียกยุคนี้ว่า ยุคซ่งใต้แต่ยังถูกเผ่าจินเข้ารุกรานตลอดเวลา
ราชวงศ์ซ่งจึงร่วมมือกับพวกมองโกล เข้าปราบปรามเผ่าจิน เผ่าซี่เซี่ย และเผ่าซีตาน แต่หลังจากนั้น กองทัพมองโกลกลับหันเข้ามาตีจีนถึงกรุงปักกิ่ง หลังจากผู้นำมองโกล (เจงกิสข่าน) เสียชีวิต หลานปู่ชื่อ ฮูปิเล่ เป็นข่านคนต่อมาชื่อว่า กุบไล่ข่านยกกองทัพมองโกลเข้ายึดครองราชวงศ์ซ่งใต้ ด้วยความร่วมมือของขุนนางและทหารบางกลุ่มของราชวงศ์ซ่งใต้ กุบไล่ข่านจึงสถาปนาราชวงศ์หยวน ปกครองจีนต่อมา

ราชวงศ์หยวน (ค.ศ.1280ค.ศ.1368)

กุ๊บไลข่าน ปกครองแผ่นดินจีนมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองต้าตู (ปักกิ่ง) ปกครองจีนด้วย ความสุขุมรอบคอบ เอาใจใส่ประชาชน จึงเป็นฮ่องเต้ที่ชาวจีนยอมรับนับถือ พระองค์ขยายอาณาเขตไปยังดินแดนอันนัม (เวียดนาม) ยกกองทัพเรือไปโจมตีญี่ปุ่น แต่เรือถูกมรสุมจึงครอบครองญี่ปุ่นไม่สำเร็จ พระองค์มีความสนใจด้านอักษรศาสตร์ และวรรณกรรม มีการพิมพ์ธนบัตรใช้ มีการประดิษฐ์ปืนใหญ่ ใช้ในการรบ มีการติดต่อกับต่างประเทศ มีพ่อค้าตะวันตกเข้ามาค้าขายและติดต่อกับราชสำนัก คือมาร์โคโปโล พ่อค้าชาวเวนิส อิตาลี
หลังจากกุ๊บไลข่าน สิ้นพระชนม์ ฮ่องเต้ชาวมองโกลองค์ต่อ ๆ มา ปกคองด้วยการกดขี่ชาวจีน มีการแย่งชิงอำนาจในราชวงศ์ จึงเกิดกบฏขึ้นทั่วไป ช่วงปลายราชวงศ์มีผู้นำกบฏชื่อ จูหยวนจางปราบปรามกบฏกลุ่มต่าง ๆและเข้ายึดกรุงปักกิ่งโค่นล้มราชวงศ์หยวนได้สำเร็จ สถาปนาราชวงศ์หมิง ปกครองจีนต่อมา

ราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1368ค.ศ.1644)

จูหยวนจาง สถาปนาเป็น หมิงไท่จู่ฮ่องเต้ฟื้นฟูเศรษฐกิจ พัฒนาศิลปวัฒนธรรมจีนเป็นอย่างดี และปกครองราษฎรด้วยความผ่อนปรน แต่ในทางการเมืองการปกครองพระองค์ใช้ความเด็ดขาด ปราบปรามผู้ต่อต้าน และผู้รังแกราษฎรอย่างเข้มงวด
พระองค์มีรัชทายาทชื่อ จูเปียว แต่สิ้นพระชนม์ จึงแต่งตั้งลูกของรัชทายาทจูเปียว เป็นรัชทายาท ทำให้โอรสองค์อื่น ๆ ไม่พอใจ หลังจากพระเจ้าหมิงไท่จู่สิ้นพระชนม์รัชทายาทได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์ชื่อ เจี้ยน เหวิน ฮ่องเต้ต่อมาโอรสองค์ที่ 4 ของพระเจ้าหมิงไท่จู่ ชื่อเจ้าเอี้ยนหวาง ผู้เป็นอาของพระเจ้าเจี้ยนเหวิน ก่อกบฏยึดเมืองหนานจิงซึ่งเป็นเมืองหลวง และพระเจ้าเจี้ยน เหวิน สูญหายไป
เจ้าเอี้ยงหวาง ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ชื่อ หย่งเล่อฮ่องเต้พระองค์ได้สร้างพระราชวังปักกิ่ง (พระราชวังต้องห้าม) ค้าขายกับต่างประเทศ และให้ขันทีคนสนิทชื่อเจิ้งเหอ เดินทางด้วยกองเรือของจีนไปยังดินแดนต่าง ๆ ถึง 7 ครั้ง
หลังจากสมัยของพระเจ้าหย่ง เล่อฮ่องเต้ กลุ่มขันทีในราชวงศ์หมิงเข้ามามีบทบาทในการเมือง การปกครองหลายสมัย สมัยกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ชื่อ ฉงเจินฮ่องเต้ บ้านเมืองวุ่นวาย มีภัยพิบัติข้าราชการฉ้อราษฎร์บังหลวง มีชนเผ่าแมนจู จากทางตะวันออกเฉียงเหนือเข้ารุกราน และยึดครองกรุงปักกิ่งได้ด้วยความช่วยเหลือของผู้บัญชาการทหารของราชวงศ์หมิงชื่อ อู่ซานกุ้ย ชนเผ่าแมนจูจึงสถาปนาราชวงศ์ชิง ปกครองแผ่นดินจีนได้สำเร็จ 

ราชวงศ์ชิง (ค.ศ.1644ค.ศ.1911)

กษัตริย์ของราชวงศ์ชิง ได้แก่ ซุ่นจื้อฮ่องเต้ซึ่งมีพระชนมายุยังน้อย มีผู้สำเร็จราชการชื่อ ตั้วเออร์กุน พยายามทำตัวมีบทบาทเหนือพระเจ้าซุ่นจื้อ แต่เสียชีวิตในเวลาต่อมา
พระเจ้าซุ่นจื้อ บริหารบ้านเมืองอย่างเป็นธรรม ให้ความสำคัญกับชาวจีน ยกย่องศิลปวัฒนธรรมชองจีน ในด้านการทหารราชวงศ์ชิงจัดให้มีการบังคับบัญชาด้วยระบบกองธงต่าง ๆ พระองค์สิ้นพระชนม์ด้วยไข้ทรพิษ โอรสของพระองค์ขึ้นครองราชย์ต่อมามีพระนามว่า คังซี
พระเจ้าคังซี เป็นฮ่องเต้ขณะมีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา ทำให้พระนางเสี้ยวจองฮองเฮา เป็นผู้คอยดูแลว่าราชการแทน พอเติบโตขึ้นพระองค์สร้างความเจริญให้แก่จีนอย่างมาก เช่นแก้ไขปัญหาชนชั้นกับชาวจีน จัดทำแผนที่ จัดทำหนังสือวิทยาการต่างๆ และทำสงครามกับรัสเซียจนได้ชัยชนะ
ราชวงศ์ชิงตั้งแต่สมัยของ เต้ากวงฮ่องเต้เป็นต้นมา ประสบกับปัญหาการค้าขายกับชาติตะวันตก แพ้สงครามฝิ่นให้แก่ประเทศอังกฤษ เกิดกบฏไท่ผิง และต้องยอมทำสัญญาเสียเปรียบกับชาติตะวันตกและญี่ปุ่น ซึ่งเข้ามาแสวงหาประโยชน์จากจีนอย่างเต็มที่ จีนจึงรับมือจากภัยชาติตะวันตกโดยการเลียนแบบตะวันตก โดยการส่งคนไปศึกษาต่างประเทศ เป็นต้น
ในสมัยของ เสียนฟงฮ่องเต้ซึ่งเป็นกษัตริย์ต่อจากพระเจ้าเต้ากวง มีมเหสีฝ่ายซ้ายชื่อ ฉือซีไท่โฮ่ว” (ซูสีไทเฮา) เข้ามามีบทบาทในราชสำนัก และหลังจากพระเจ้าเสียนฟงสิ้นพระชนม์ มเหสีฝ่ายซ้ายได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทน ถ่งจื้อฮ่องเต้ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าเสียนฟง และครองราชย์ตั้งแต่อายุยังน้อย ต่อมาได้สิ้นพระชนม์ด้วยไข้ทรพิษ
พระนางฉือซีไท่โฮ่ว จึงตั้งพระนัดดาเป็นฮ่องเต้องค์ต่อมาชื่อ กวงสูฮ่องเต้พระเจ้ากวงสูพยายามปฏิรูปประเทศจีนในด้านต่าง ๆ แก้ไขกฎหมายสำคัญๆ ตั้งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง แต่การปฏิรูปต่าง ๆ ทำได้เพียงร้อยกว่าวันก็ล้มเหลว (เรียกว่าปฏิรูป 100 วัน) ปีค.ศ.1900 เกิดกบฏนักมวยต่อต้านชาติตะวันตกและญี่ปุ่น แต่ถูกต่างชาติรวมตัวกันปราบกบฏได้สำเร็จ ในปีค.ศ.1908 พระเจ้ากวงสู ถูกวางยาพิษสิ้นพระชนม์
พระนางฉือซีไท่โฮ่ว จึงแต่งตั้งเชื้อพระวงศ์อายุเพียง 3 ขวบ ชื่อ อ้ายซินเจวี๋ยหลัวผู่อี้เป็นฮ่องเต้หุ่นเชิดของพระนาง และเป็นฮ่องเต้องค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิงและของประเทศจีน เมื่อประเทศจีนถูกปฏิวัติเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐ




ที่มา: http://www.baanjomyut.com/library_3/extensio4/chinese_history_of_modern_empires/12.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น