ธรณีวิทยาของแผ่นเปลือกโลก
ผิวโลกบริเวณต่างๆ มีลักษณะต่างกันบางแห่งเป็นที่ราบ บางแห่งเป็นภูเขา
บางแห่งเป็นหุบเหว และบางแห่งเป็นทะเลหรือมหาสมุทร นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน
ชื่ออัลเฟรด เวเจเนอร์ ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับเปลือกโลกว่า เมื่ออดีตประมาณ 225 ล้านปี ผิวโลกส่วนที่เป็นแผ่นดินที่ยื่นขึ้นมาจากผิวน้ำมีเพียงทวีปเดียว
เป็นทวีปที่ใหญ่มาก เขาได้ตั้งชื่อทวีปนี้ว่า แพงเจีย (Pangaea)
เมื่อ 200 - 135
ล้านปีที่แล้ว แยกออกเป็น 2 ทวีปใหญ่ คือ ลอเรเชีย
ทางตอนเหนือ และกอนด์วานาทางตอนใต้ และเมื่อ 135 - 65
ล้านปีที่แล้ว ลอเรเชียเริ่มแยกเป็นอเมริกาเหนือ และแผ่นยูเรเชีย
ส่วนกอนด์วานาจะแยกเป็น อเมริกาใต้ แอฟริกา ออสเตรเลีย แอนตาร์กติก และอินเดีย
นักธรณีวิทยาแบ่งแผ่นธรณีภาคของโลกออกเป็น 2 ประเภท คือ แผ่นทวีปและแผ่นมหาสมุทรทั้ง 2
ประเภทรวมกันมี 13 แผ่น (กระทรวงศึกษาธิการ, 2546:
50)
-แผ่นทวีป เช่น แผ่นยูเรเชีย อินเดีย อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ อแฟริกา อาระเบีย
-แผ่นมหาสมุทร เช่น แผ่นแปซิฟิก แอนตาร์กติก
คาริบเบีย คอคอส นาสกา
จากข้อมูลในปัจจุบันจะเห็นว่า ทวีปต่างๆ
อยู่กระจายไปตามส่วนต่างๆ ของโลกโดยมีมหาสมุทรและทะเล
คั่นอยู่ระหว่างทวีปเหล่านั้น และข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า ในเวลาต่อๆ
มาพบว่าทวีปหรือแผ่นเปลือกโลกทั้งหลายมิได้อยู่กับที่ แต่จะมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา
การศึกษาของนักธรณีวิทยาพบว่า สิ่งต่างๆ
ที่ประกอบกันเป็นเปลือกโลกนั้น มิได้อยู่รวมติดกันเป็นแผ่นเดียวโดยตลอด
แต่จะมีรอยแยกอยู่ทั่วไป ซึ่งรอยแยกเหล่านี้ส่วนใหญ่จะอยู่ลึกลงไปจากผิวโลก
จึงทำให้สามารถแบ่งเปลือกโลกเป็นแผ่น ๆ เรียกว่า แผ่นเปลือกโลก
นักธรณีวิทยาบ่งชี้ว่า มีแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ 6
แผ่นและแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กอีกหลายแผ่น
เปลือกโลกประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ 6
แผ่นดังนี้
1.แผ่นยูเรเซีย
เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปเอเซียและทวีปยุโรป
และพื้นน้ำ บริเวณใกล้เคียง
2.แผ่นอเมริกา
เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปอเมริกาเหนือและอออเมริกาใต้
แล พื้นน้ำครึ่งซีกตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก
3.แผ่นแปซิฟิก
เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับมหาสมุทรแปซิฟิก
4.แผ่นออสเตรเลีย
เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปออสเตรเลียและประเทศอินเดีย
และพื้นน้ำระหว่างประเทศออสเตรเลียกับประเทศจีน
5.แผ่นแอนตาร์กติก
เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอนตาร์กติก
แและพื้นน้ำโดยรอบ
6.แผ่นแอฟริกา
เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอฟริกา
และพื้นน้ำรอบๆ ทวีปแอฟริกา
เพลตเหล่านี้มีรูปทรงรับกันตามรอยต่อของเพลต
รอยต่อของเพลตเหล่านี้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
2.รอยเลื่อนแปรสภาพ (transform faults) เป็นรอยต่อที่เพลตเคลื่อนที่เฉียดกัน
3.เขตมุดตัวของเปลือกโลก (subduction
zones) เป็นรอยต่อที่เพลตเคลื่อนที่ปะทะกัน
แล้วเพลตหนึ่งมุดตัวลงข้างใต้อีกเพลตหนึ่ง ทำให้เปลือกโลกส่วนที่มุดนั้น
หายลงไปในชั้นแมนเทิล
ทั้งนี้ รอยต่อของเพลตที่ซับซ้อนที่สุด
เป็นรอยต่อที่เพลตสามเพลตปะทะกัน เรียกว่า “รอยต่อสามผสาน”
(triple junction) รอยต่อลักษณะนี้อาจประกอบด้วยรอยต่อต่างๆ
ทั้งสามประเภทผสมผสานกัน และแผ่นดินไหวส่วนใหญ่เกิดขึ้นตามแนวรอยต่อระหว่างเพลต
แม้รอยต่อระหว่างเพลตมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทก็ตาม
แต่เราแบ่งแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นตามแนวรอยต่อเหล่านี้ออกเป็น 4 ประเภท คือ
1..แผ่นดินไหวตื้น
ที่เกิดขึ้นบริเวณสันเขาในมหาสมุทร
2.แผ่นดินไหวตื้น ที่เกิดขึ้นตามรอยเลื่อนแปรสภาพ
เช่น รอยเลื่อนซานอันเดรียส ทางด้านตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ
3.แผ่นดินไหวตื้น แผ่นดินไหวลึกปานกลาง
และแผ่นดินไหวลึก ที่เกิดขึ้นตามแนวมุดตัวของเปลือกโลก บริเวณแนวโค้งภูเขาไฟ
4.แผ่นดินไหวตื้น แผ่นดินไหวลึกปานกลาง และแผ่นดินไหวลึก
ที่เกิดขึ้นตามแนวเทือกเขาสำคัญ ๆ เช่น เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาฮินดูกูฏ
แนวแผ่นดินไหวนี้เริ่มจากบริเวณเมดิเตอเรเนียน จนเกือบถึงประเทศจีน
เมื่อ “เพลตเทคโทนิกส์”
แยกออกจากกันตามแนวแกนของสันเขากลางมหาสมุทร ขณะที่เพลตแยกออกจากกัน
มีรอยเลื่อนและการปะทุของลาวา ปรากฏขึ้นตรงรอยแยก
ก่อให้เกิดภูเขาและผาชันตามแนวดังกล่าว บริเวณนี้เป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว
แนวภูเขาไฟ แถบแม่เหล็กสลับขั้วในหิน 2 ด้านของรอยแยก
มีการไหลถ่ายความร้อนปริมาณสูงกว่าบริเวณอื่นบนเปลือกโลกหลายเท่า
และการยกตัวของภูมิประเทศ พบว่าภูเขาไฟกว่า 200 แห่ง
เรียงรายอยู่ตามแนวยกตัวของพื้นทะเล ภูเขาไฟหลายแห่งยังมีพลัง
การไหลถ่ายความร้อนมีปริมาณสูงมาก
นอกจากนี้ยังปรากฏรอยแยกขนาดใหญ่อันเกิดจากแรงดึงนี้
ตามแนวยกตัวบริเวณเกาะไอซ์แลนด์เป็นจำนวนมาก สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
เมื่อมีการเคลื่อนที่ขึ้นลงตรงรอยแยกเหล่านี้ ก่อให้เกิดสันเขาบล็อกรอยเลื่อน (fault
block ridges) เรียงรายคล้ายขั้นบันไดยักษ์ไปตามร่องหุบเขา
แม้ลาวามีการปะทุขึ้นมาในระยะเวลาอันสั้น แต่ปรากฏการณ์นี้ก็เกิดขึ้น บ่อยๆ
ตลอดห้วงเวลาอันยาวนานที่ผ่านมา
ทวีปส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนเพลต ที่มีรอยต่อระหว่างเพลต
อันเป็นศูนย์กลางการเคลื่อนที่อยู่ในมหาสมุทร
รอยแยกของเพลตแอฟริกากับเพลตยูเรเชียทำให้เกิดทะเลแดง
และรอยแยกของเพลตแปซิฟิกกับเพลตอเมริกาเหนือ ทำให้เกิดอ่าวแคลิฟอร์เนีย
เป็นที่น่าประหลาดใจว่า ทั้งที่ทวีปเคลื่อนที่แยกกันไปเป็นเวลานานแล้ว
กลับสามารถนำมาปะติดปะต่อกันตามแนวชายฝั่งทวีปได้อีก
เหมือนเมื่อทวีปเพิ่งเริ่มเคลื่อนที่ครั้งแรก
การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก
เปลือกโลกแต่ละแผ่นมีขนาดใหญ่มาก
แต่ละแผ่นเปลือกโลกก็สามารถเคลื่อนที่ได้ ซึ่งแนวคิดของนักวิทยาศาสตร์
เกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เปลือกโลก เคลื่อนที่มีดังนี้
1. การเคลื่อนที่ของหินหนืด
หินหนืดที่มีอยู่ในชั้นแมนเทิลได้รับความร้อนจากแก่นโลกทำให้
อุณหภูมิและ ความดันสูงมาก หินหนืดมีขนาดมหึมาจึงเคลื่อนที่ไหลวนไปมาอย่างช้า ๆ
การไหลวนของหินหนืดนี้จะดันแผ่นเปลือกโลกให้เคลื่อนที่ไปด้วย
แต่หินหนืดในบริเวณต่างๆ ของโลกมีทิศทางการไหลวนที่แตกต่างกัน
ทำให้เปลือกโลกแต่ละแผ่นอาจเคลื่อนที่ชนกัน
2. การแทรกตัวของหินหนืดตามรอยแยกของเปลือกโลก
การเคลื่อนที่ของหินหนืดเป็นสาเหตุหนึ่ง
ที่ทำให้แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ได้
ประกอบกับแผ่นเปลือกโลกที่อยู่ใต้มหาสมุทรมีความหนาน้อยกว่าแผ่นเปลือกโลก
ที่เป็นทวีป
หินหนืดในชั้นแมนเทิลจึงสามารถแทรกตัวขึ้นมาตามรอยแยกระหว่างแผ่นเปลือกโลก
ที่อยู่ใต้มหาสมุทรได้ง่ายกว่าหินหนืดในชั้นแมนเทิล
จึงทำหน้าที่เป็นตัวดันและพยุงให้แผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรเคลื่อนที่และขยายตัวออกจากกัน
ผลกระทบที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก
1.ทำให้เกิดภูเขา
การเคลื่อนที่เข้าชนกันของแผ่นเปลือกโลกทำให้แผ่นเปลือกโลกบางส่วน
โก่งตัวขึ้นกลายเป็นภูเขาสูง
2.ทำให้แผ่นเปลือกโลกบางส่วนหายไป
การเคลื่อนที่ชนกันของแผ่นเปลือกโลก นอกจากจะทำให้แผ่นเปลือกโก่งตัวขึ้นแล้ว
ยังทำให้แผ่นเปลือกโลก มุดตัวหายไปอยู่ใต้แผ่นเปลือกโลกอีกแผ่นหนึ่ง
แผ่นเปลือกโลกที่มุดตัวลงในชั้นแมนเทิลนั้นจะได้รับความร้อน
เกิดการหลอมตัวของหินเปลือกโลก
3.ทำให้เกิดแผ่นดินไหว
แผ่นดินไหวส่วนใหญ่จะเกิดตามขอบของแผ่นเปลือกโลก
ซึ่งเป็นบริเวณที่แผ่นเปลือกโลกขนกัน และแยกออกจากกัน
หรือแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ผ่านกัน
4.ทำให้เกิดภูเขาไฟ
เกิดจากการแทรกตัวของหินหนืดขึ้นสู่ผิวโลก โดยมีแรงปะทุและแรงระเบิด
แผ่นธรณีภาคและการเคลื่อนที่
1. ขอบแผ่นธรณีภาคแยกออกจากกัน
เกิดจากการดันตัวของแมกมา ทำให้เกิดรอยแยก
จนแมกมาถ่ายโอนความร้อนสู่เปลือกโลกได้ ทำให้อุณหภูมิและความดันลดลง
ทำให้เปลือกโลกทรุดตัวกลายเป็นหุบเขาทรุดในระยะเวลาต่อมาเมื่อมีน้ำ
ไหลมาสะสมเกิดเป็นทะเล และเกิดเป็นรอยแยกทำให้เกิดร่องลึก
แมกมาจึงเคลื่อนตัวแทรกดันขึ้นมาอีก ทำให้แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรแยกจากไปทั้งสองด้านเกิด
การขยายตัวของพื้นทะเล (Sea floor spreading) และทำให้เกิดเทือกเขากลางสมุทร
เช่น บริเวณทะเลแดง อ่าวแคลิฟอร์เนีย แอฟริกาตะวันออก มีลักษณะหุบเขาทรุด
มีร่องรอยแยก เกิดแผ่นดินไหวตื้นๆ มีภูเขาไฟและลาวาไหลอยู่ใต้มหาสมุทร
2. ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนเข้าหากัน มี 3 แบบ
-แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกันกับแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร
แผ่นธรณีภาคอีกแผ่นหนึ่งจะมุดลงใต้อีกแผ่นหนึ่ง
ปลายของแผ่นที่มุดลงจะหลอมกลายเป็นแมกมา และปะทุขึ้นมา บนแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร
เกิดเป็นแนวภูเขาไฟใต้มหาสมุทร และมีร่องใต้ทะเลลึก
มีแนวการเกิดแผ่นดินไหวตามขอบแผ่นธรณีภาคลึกลงไปถึงชั้นเนื้อโลก
จนมีภูเขาไฟที่ยังมีพลัง เช่น ที่หมู่เกาะมาริอานาส์ อาลูเทียน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์
-แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป
แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรซึ่งหนักกว่ามุดตัวลงข้างล่างใต้แผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป
เกิดเป็นร่องใต้ทะเลและเกิดเทือกเขา ตามแนวขอบทวีปเป็นแนวภูเขาไฟชายฝั่ง
และแผ่นดินไหวรุนแรง เช่น อเมริกาใต้แถบตะวันตก
-แผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีปชนกับแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป
ซึ่งทั้งสองแผ่นมีความหนามาก ทำให้แผ่นหนึ่งมุดลงแต่อีกแผ่นหนึ่งเกยขึ้นเกิดเป็นเทือกเขาแนวยาวอยู่กลาง
ทวีปหรือแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป เช่นเทือกเขาหิมาลัย ในทวีปเอเชีย เทือกเขาแอลป์
ในทวีปยุโรป
3. ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่ผ่านกัน
เกิดจากอัตราการเคลื่อนตัวของแมกมาในชั้นเนื้อโลกไม่เท่ากัน
จึงทำให้แผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่ไม่เท่ากันด้วยส่งผลให้เปลือกโลกและเทือกเขา
ใต้มหาสมุทรเลื่อนไถลผ่านและเฉือนกัน เกิดเป็นรอยเลื่อนเฉือนระนาบด้านข้างขนาดใหญ่
สันเขากลางมหาสมุทรเลื่อนเป็นแนวเหลื่อมกันอยู่ มีลักษณะเป็นแนวรอยแตกแคบยาวมีทิศทางตั้งฉากกับเทือกเขากลางมหาสมุทรและร่อง
ใต้ทะเลลึก มักจะเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในระดับตื้นๆ
ระหว่างขอบของแผ่นธรณีภาคที่ซ้อนเกยกัน เช่น รอยเลื่อนซานแอนเดรียส ประเทศอเมริกา
รอยเลื่อนอัลไพล์ ประเทศนิวซีแลนด์
ภาพการชนกัน :
ระหว่างแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรกับแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร
ที่มา : http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-2/geology_of_the_tectonic_plates/01.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น